กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนตำบลคลองปาง ร่วมใจป้องกันภัย โรค ไข้เลือดออก ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L1512-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ SRRT 3,4,5,6,7,8,9 ตำบลคลองปาง
วันที่อนุมัติ 21 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพัชรี เภอรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.987,99.645place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีการรณรงค์การมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะให้ตอบสนองต่อกระบวนการควบคุมป้องกันโรคภัยที่คุกคามสุขภาพ ในการใช้สื่อสารสาธารณะในการสร้างวิถีชีวิตที่ป้องกันชุมชนและสังคมจากภัยคุกคาม ซึ่งกรมควบคุมโรค จะพัฒนาสมรรถนะใหม่ขึ้นมา เพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล (กองสุขศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข , 2550)
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโรคหนึ่งนับตั้งแต่มีการระบาดครั้งแรกในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2501 จนปัจจุบันผู้ป่วยยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีการแพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการคมนาคมสะดวก ปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก ได้แก่ คน เชื้อก่อโรค ยุงพาหะนำโรค และสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และจากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 2 ธันวาคม 2565 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 39,141 ราย อัตราป่วย 59.15 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 27 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.07 สถานการณ์โรคไข้เลือดออก เขต 12 มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 1,728 ราย อัตราป่วย 34.56 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 1 ราย อัตราป่วย-ตาย ร้อยละ 0.06 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดตรัง มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 227 ราย อัตราป่วย 35.48 ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 0 ราย อัตราป่วย-ตายร้อยละ 0.00 สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่ปี 2551-2565 ของจังหวัดตรัง มีลักษณะแนวโน้มการเกิดโรคเป็นแบบระบาด 2 ปี เว้น 1 ปี สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอรัษฎา มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 4 ราย (DHF 4 รายคิดเป็นร้อยละ 13.71 อาศัยในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคลองมวน เขตรับผิดชอบ รพ.สต.คลองปาง และรพ.สต.เขาไพร) จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกย้อนหลัง 5 ปี พบผู้ป่วยสงสัยไข้เลือดออก และขณะป่วยหรือมีอาการฟักตัวอยู่กำลังศึกอยู่โรงเรียนวัดเขาพระโดยระหว่างระยะฟักตัวของโรคได้เรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดเขาพระซึ่งเป็นสถานที่เด็กมาอยู่รวมกันในช่วงเวลากลางวัน สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของยุงลายจึงเป็นแหล่งที่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคสูงจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิต หากไม่มีการควบคุมโรคอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นการควบคุมโรคที่ต้นเหตุโดยเร่งด่วนแล้ว อาจส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคนี้ในโรงเรียนได้   ดังนั้นชาวตำบลคลองปางจึงได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในปี 2566 จึงได้จัดทำโครงการขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และให้นักเรียนตลอดถึงประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ผลกระทบของโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้นที่สำคัญเพื่อเป็น การป้องกันและลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกในเขตตำบลคลองปางโดยการร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยชุมชนเป็นเจ้าของพื้นที่และขยายแนวทางการป้องกันโรคดูแลสุขภาพด้วยตนเองอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑.เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง โรคไข้เลือดออกรวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว

ร้อยละ 80 นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก

2 ข้อที่ ๒.เพื่อเฝ้าระวังป้องกัน การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ประชาชนตำบลคลองปางร่วมป้องกัน การระบาดของ ไข้เลือดออกในพื้นที่

3 ข้อที่ ๓.เพื่อให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินกิจกรรมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

ประชาชนตำบลคลองปางร่วมดำเนินกิจกรรมไข้เลือดออก โดยการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลุกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ระยะเตรียมการ
    1.1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน 1.2 จัดทำและเสนออนุมัติโครงการ 1.3 ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง


  2. ระยะดำเนินการ
    2.1 นำโครงการไปปฏิบัติในชุมชน 2.2 จัดอบรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน ร่วมรณรงค์ต้านภัยไข้เลือดออก 2.3 การสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 2.4 ให้สุขศึกษาเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และการจัดบริเวณบ้านที่ถูก สุขลักษณะ 2.5 แจกแผ่นพับให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
    2.6 ติดตามผลการดำเนินงาน 2.7 ประเมินผลโครงการ
    1. ระยะหลังดำเนินการ
      3.1 ติดตามการดำเนินงานภายหลังการดำเนินงาน 3.2 สรุปแบบประเมินและรายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 80 นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนมีความรู้ และหลักในการจัดบ้านที่ถูกสุขลักษณะรวมถึงวิธีการกำจัดและป้องกันลูกน้ำยุงลายที่ถูกวิธี
  3. มีการดำเนินกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมนอย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2566 22:23 น.