กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชมรมแอโรบิคบ้านบนเขา ใส่ใจการออกกำลังกาย ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 2566-L8404-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมแอโรบิกบ้านบนเขา ใส่ใจการออกกำลังกาย
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 28 มีนาคม 2566
งบประมาณ 15,482.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรมย์ จันมุณี
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ชมรมแอโรบิกบ้านบนเขา ใส่ใจการออกกำลังกาย
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2566 30 มิ.ย. 2566 15,482.00
รวมงบประมาณ 15,482.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โลกปัจจุบัน มีความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การขยายตัวของสังคมเมือง(urbanization) และการเปลี่ยนเป็นสังคมยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) ทำให้ประชาชนมีวิถีและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป ทั้งมีรูปแบบชีวิตที่ยุ่งเหยิง เร่งรีบมากขึ้น การให้ความสำคัญกับการแข่งขัน และการทำงาน แต่มีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันลดลง โดยใช้เวลาไปกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวน้อย และมีพฤติกรรมเนือยนิ่งเพิ่มมากขึ้น อาทิ การดูโทรทัศน์การใช้โทรศัพท์มือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การนั่ง การประชุมเป็นต้น ทั้งหมดนี้ส่งผลลบต่อสุขภาพอนามัย เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งของประชาชนและประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย   ประชากรวัยทำงานเป็นกลุ่มวัยที่สำคัญต่อการพัฒนาครอบครัว สังคมและประเทศชาติ มีบทบาทขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เป็นผู้นำครอบครัว ต้องทำหน้าที่ดูแลวัยสูงอายุวัยเด็ก และผู้พิการ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติปีพ.ศ2558 พบว่าประชากรวัยทำงาน อายุ15-59 ปี มีจำนวน 43 ล้านคนเป็นเพศหญิง 22 ล้านคนและเพศชาย 21 ล้านคนหรือประมาณ66% ของประชากรทั้งหมดในปี 2555 พบว่าประชากรวัยทำงานทั้งที่อยู่ในภาคแรงงาน อยู่ในระบบและนอกระบบ มากกว่า 1 ใน 10 ของประชากรกลุ่มนี้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด(ร้อยละ32.4)โรคเบาหวาน(ร้อยละ21.1) โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง(ร้อยละ18.7)อีกทั้งปัญหาสุขภาพในภาคการเกษตร มีอัตราป่วยโรคพิษสารกำจัดศัตรูพืช(รหัสโรค T600-T609)ปี 2555 เท่ากับ16.88 ต่อประชากรแสนคนที่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (UC)เพิ่มขึ้นจากปี 2554 (มีค่าเท่ากับ 15.31)คิดเป็นร้อยละ 10 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2555 อ้างถึงในกระทรวงสาธารณสุข 2557)สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคเรื้อรังเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหารการออกกำลังกายการ สูบบุหรี่และดื่มแอลกฮอล์เป็นต้น โดยพบว่าร้อยละ82.3กินผักและผลไม้ไม่เพียงพอตามข้อแนะนำและร้อยละ18.5 มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ(กรมอนามัย 2559)   นอกจากนี้ การสำรวจประชากรที่มีอายุ15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 53.8 ล้านคน พบว่าเป็นผู้ที่เล่นกีฬาออกกำลังกายทั้งสิ้น 12.7 ล้านคน (ร้อยละ 23.7) ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ทำงาน 7.3 ล้านคน (ร้อยละ 57.3)ไม่ได้ทำงาน 5.4 ล้านคน(ร้อยละ 42.7)ของจำนวนผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย เมื่อพิจารณาผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายตามภาวะการทำงาน พบว่า ภาพรวมอัตราการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายของกลุ่มผู้ที่ทำงานต่ำกว่ากลุ่มผู้ที่ไม่ได้ทำงาน(ร้อยละ 18.2และ 36.7 ตามลำดับ) พบผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย มีคะแนนสุขภาพจิตสูงกว่าผู้ที่ไม่เล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย (คะแนน 33.00และ 31.75ตามลำดับ)(สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2554) การเพิ่มการออกกำลังกายในพนักงานสามารถสร้างพนักงานที่มีสุขภาพดีเพิ่มผลผลิตของพนักงาน และลดความเสี่ยงของพนักงานในการเกิดโรคเรื้อรังที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายและสร้างความเดือดร้อน พนักงานที่มีกิจกรรมทางกายจะมีต้นทุนการดูแลรักษาที่ต่ำกว่าลาป่วยไม่มาก และมีประสิทธิผลมากขึ้นในที่ทำงาน (johns hopkins bloomberg school of public health n.d.) นายจ้างหลายคนเชื่อว่าการสร้างวัฒนธรรมด้านสุขภาพในที่ทำงานโดยการสนับสนุนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย จะสามารถช่วยดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีคุณภาพสูงไว้ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้เด็กเยาวชน และประชาชนได้ร่วมกิจกรรมออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละคนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

1.00
2 2. เพื่ิอปรับเปลี่ยนและส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของสมาชิกด้านการออกกำลังกาย

ร้อยละคนในชุมชนเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ ด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสม

1.00
3 3. เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วย และการเกิดโรคของผู้ป่วยรายใหม่

ร้อยละคนในชุมชนมีการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค ออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า ออกกำลังกายแบบโยค่ะ อย่างต่อเนื่อง

1.00
4 4. เพื่อขยายพื้นที่ ขยายกลุ่ม สำหรับสร้างกระบวนการออกกำลังกายอย่างยั่งยื่น

ร้อยละคนในชุมชนได้ผ่อนคลายความเครียดด้วยการออกกำลังกายในแบบต่างๆด้วยความเหมาะสม

1.00
5 5. เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีเวทีจัดทำกิจกรรมออกกำลังกายแอโรบิกร่วมกัน

ร้อยละสมาชิกทุกคนมีเวทีจัดทำกิจกรรมออกกำลังกายแอโรบิกร่วมกัน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66
1 โครงการชมรมแอโรบิคบ้านบนเขา ใส่ใจการออกกำลังกาย ประจำปี 2566(1 ม.ค. 2566-30 มิ.ย. 2566) 15,482.00            
รวม 15,482.00
1 โครงการชมรมแอโรบิคบ้านบนเขา ใส่ใจการออกกำลังกาย ประจำปี 2566 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 15,482.00 1 15,482.00
1 ม.ค. 66 - 30 มิ.ย. 66 โครงการชมรมแอโรบิคบ้านบนเขา ใส่ใจการออกกำลังกาย ประจำปี 2566 30 15,482.00 15,482.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง 2.คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาภ ด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสม 3.คนในชุมชนมีการอกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิค , ออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า , ออกกำลังกายแบบโยคะ อย่างต่อเนื่อง 4.คนในชุมชนได้ผ่อนคลายความเครียดด้วยการออกกำลังกายในแบบต่างๆ ด้วยความเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2566 15:05 น.