กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพิชิตยุงร้ายทำลายแหล่งเพาะพันธ์ป้องกันไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 66 - ……………………… ปี-รหัสกองทุน 5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนปากพะยูนพิทยาคาร
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 เมษายน 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุกูล ชุมทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.279,100.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่มักเป็นโรคไข้เลือดออกไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ โรคไข้เลือดออกเกิดจากยุงที่เป็นพาหะนำโรคที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เข้าสู่ต้นฤดูฝนโรคที่เราต้องเผชิญอีกหนึ่งโรค ก็คือโรคไข้เลือดออก ซึ่งเกิดขึ้นทุกปีและปีนี้ปี 2565 จากสถานการณ์ไข้เลือดออกเดือนมกราคม – เดือนกรกฎาคม 2565 ระยะเวลา 7 เดือน กลุ่มควบคุมโรคติดต่อ สสจ.พัทลุง มีรายงาน ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกถึง 32 ราย ติดอันดับ 36 ของประเทศ และมีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ (ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค) จากปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อมองย้อนมายังโรงเรียนซึ่งในบริเวณโดยรอบของโรงเรียนปากพะยูนพิทยาคาร มีต้นไม้จำนวนมากอากาศชื้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝน อากาศชื้น มืดครึ้ม และยังมีแหล่งน้ำในห้องน้ำของนักเรียนจำนวน 6 หลัง(30 ห้อง) ห้องน้ำครูตามอาคารเรียนต่างๆจำนวน 9 ห้อง และบริเวณบ้านพักครูจำนวน 12 หลัง ด้วยสถานที่ดังกล่าวจะเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและยุงสายพันธ์อื่นอันดับต้นๆ ดังนั้นเราทุกคนจึงจำเป็นต้องช่วยกันป้องกันการเกิดและกำจัดยุงลาย ซึ่งเป็นการการป้องกันที่ดีที่สุด ในปัจจุบันพบว่าได้มีผู้คิดค้นสิ่งที่ช่วยในการกำจัดและป้องกันยุง  เช่น ครีมทากันยุง ยาฉีดกันยุง  ยาจุดกันยุง เป็นต้น     จากการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจจะมีสารเคมีเป็นส่วนผสมอยู่ ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดอาการแพ้หรือส่งผลข้างเคียงกับร่างกายในเวลาต่อมาได้  ดังนั้นสภานักเรียนจึงได้ศึกษาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตพบว่า การนำตะไคร้มาเป็นส่วนผสมในเทียนหอมเพื่อไล่ยุงและทำเป็นสเปรย์ไล่ยุงจะได้ผลดี เพราะตะไคร้มีสารที่ออกฤทธิ์ในการไล่ยุง กลิ่นตะไคร้มาจากน้ำมันหอมระเหยที่เรียกรวมๆว่า Essential oil ซึ่งประกอบด้วยสารหลายตัว ยุงจึงไม่ชอบกลิ่นตะไคร้  และในครั้งนี้สภานักเรียนยังได้ประสานกลุ่มเครือข่ายเด็กอวด(ทำ)ดี ทีม Dek “โฮมกั๋น ” โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 30 เชียงใหม่ เพื่อศึกษาข้อมูลและวิธีทำ จัดทำผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีส่วนผสมของปูนแดงและขิงจะทำให้ลูกน้ำยุงลายไม่สามารถฟักเป็นตัวได้ซึ่งโครงการนี้เป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออกตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง จากสภาพปัญหาดังกล่าวคณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนปากพะยูนพิทยาคารได้พยายามหาวิธีการแก้ไข โดยศึกษาโครงงานเรื่องเทียนหอมและสเปรย์สมุนไพรไล่ยุง จากแหล่งข้อมูลในอินเตอร์เน็ตมาต่อยอดและปรับใช้ในโรงเรียนและชุมชน เพื่อเป็นการป้องกันและกำจัดยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำไปสู่โรคภัยต่างๆได้ นอกจากนี้ยังเป็นการแปรรูปพืชสมุนไพรธรรมดาที่มีสรรพคุณมากมายให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรกำลังจัดยุงลาย เทียนหอมและสเปรย์ไล่ยุง เป็นการลดภาระรายจ่ายในครอบครัวอีกทางหนึ่ง คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนปากพะยูนพิทยาคารจึงสนใจคิดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อศึกษาและนำสมุนไพรไปใช้แทนการใช้ผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดที่มีสารเคมี ข้อที่ 2 เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน ข้อที่ 3 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนป้องกันและตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออกด้วยการนำสมุนไพรมาใช้ ข้อที่ 4. เพื่อลดอัตราการเกิดไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ตำบลดอนประดู่

ข้อที่ 1กลุ่มเป้าหมายนำสมุนไพรไปใช้แทนการใช้ผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดที่มีสารเคมี  ในห้องน้ำโรงเรียนปากพะยูนพิทยาคาร  บ้านพักครูและในชุมชนอีก 150 ครัวเรือน ข้อที่ 2 สามารถทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายได้ร้อยละ 80 ของพื้นที่เป้าหมาย ข้อที่ 3 ประชาชนรู้จักป้องกันและตระหนักถึงอันตรายของยุงลายและโรคไข้เลือดออกร้อยละ 80 ข้อที่ 4 ประชาชนในพื้นที่ลดอัตราการเกิดไข้เลือดออกร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 184 30,000.00 0 0.00
10 เม.ย. 66 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงรายละเอียดและบริหารจัดการงบประมาณตามแผนโครงการ 0 0.00 -
18 เม.ย. 66 1.1 มอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบการดำเนินกิจกรรมต่างๆ 0 0.00 -
21 เม.ย. 66 2. ประสานวิทยากรอบรมวิธีการจัดทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรป้องกันการเกิดลูกน้ำยุงลาย 0 0.00 -
24 เม.ย. 66 2.1 กำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักเรียนแกนนำ 0 0.00 -
28 เม.ย. 66 2.2 กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 0 0.00 -
16 พ.ค. 66 2.3 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักเรียนแกนนำ ผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุงลาย 28 3,020.00 -
19 พ.ค. 66 2.4 ทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรป้องกันการเกิดลูกน้ำยุงลาย 0 0.00 -
26 พ.ค. 66 3. กำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักเรียนกลุ่มสนใจ 0 0.00 -
12 มิ.ย. 66 3.2 อบรมเชิงปฏิบัติการผลิตภัณฑ์สมุนไพรป้องกันการเกิดลูกน้ำยุงลาย สเปรย์ไล่ยุงและเทียนหอมไล่ยุง โดยนักเรียนแกนนำจากสภานักเรียน 128 23,400.00 -
23 มิ.ย. 66 4. จัดทำแผ่นพับ และป้ายประชาสัมพันธ์ 4.1 จัดทำแผ่นพับความรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.2 จัดทำแผ่นพับวิธีทำผลิตภัณฑ์สมุนไพรป้องกันการเกิดลูกน้ำยุงลาย สเปรย์ไล่ยุงและเทียนหอมไล่ยุง 4.3 จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อใช้ในการเดินรณรงค์กระตุ้นการต 28 3,580.00 -
27 ก.ค. 66 5. ติดตามประเมินผลและสรุปโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. กลุ่มเป้าหมายนำสมุนไพรไปใช้แทนการใช้ผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดที่มีสารเคมีร้อยละ 80 2. นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนและชุมชน 3. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและตระหนักถึงอันตรายของยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ด้วยการนำสมุนไพรมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันโรค 4. ลดอัตราการขยายพันธ์ยุงลายซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่ตำบลดอนประดู่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2566 11:17 น.