กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองระดับสารเคมีในเลือดเกษตรกร (ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านโหล๊ะหาร)
รหัสโครงการ 66-L3344-2-26
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านโหล๊ะหาร
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุชาติ ตาแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.246301569,100.1100527place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ กล่าวคือจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองธง ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพารา ปลูกผัก ทำไร่ ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้างและยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในหมู่ที่ ๖ ตำบลหนองธงยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรงได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองระดับสารเคมีในเลือดเกษตรกร ประจำปี ๒๕66 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบได้ปรับเลี่ยนพฤติกรรม และได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดรอบที่สองเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป เป้าหมาย เกษตรกรหมู่ที่ ๖ ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง จำนวน  150 คน สถานที่ดำเนินการ หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง วิธีดำเนินการ 1. สำรวจกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมีในเขตรับผิดชอบ 2 .จัดทำทะเบียนเกษตรกรรายหมู่บ้าน 3. สรุปข้อมูลพฤติกรรม และปัจจัยเสี่ยง ๔. ดำเนินการคัดกรองเกษตรกรรายหมู่บ้าน 5. สรุปผลการคัดกรอง และแปรผลการคัดกรองเป็น รายหมู่บ้าน 6. จัดทำทะเบียนกลุ่มปกติ และกลุ่มเสี่ยง 7 .อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการรับประทานอาหาร การเลือกซื้อ ในกลุ่มเสี่ยง 8.ตรวจระดับสารเคมีรอบที่สอง หลังการอบรมหนึ่งเดือน
งบประมาณ จากเงินบำรุงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร รับโอนจากงบส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคการสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหนองธง จำนวน 21,900 บาท (สองหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยบาทถ้วน) มีรายละเอียด ดังนี้ - ค่ากระดาษขมิ้น จำนวน 5 กล่องๆละ 950 บาท          เป็นเงิน  4,750  บาท - ค่าเข็มเจาะปลายนิ้ว จำนวน 1 กล่องๆละ ๙๐0 บาท เป็นเงิน    900  บาท - ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆละ ๒๕ บาท 2 มื้อ เป็นเงิน  7,500  บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คนๆ ละ 50 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน  ๖,000  บาท - ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5 * 3.0 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน    675  บาท - ค่าวัสดุการประชุมโครงการ เป็นเงิน    575    บาท รวมเงินทั้งหมด 21,900 บาท ( สองหมื่นหนึ่งพันเก้าร้อยบาทถ้วน) หมายเหตุ ** ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ ** ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะหาร  ตำบลทุ่งนารี  อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงจากการใช้ยาฆ่าแมลง 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินที่ถูกต้อง 4. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเปลี่ยนพฤติกรรมการการเลือกซื้ออาหารที่ถูกต้อง 5. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดูแลตนเองได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 21,900.00
30 มี.ค. 66 - 1 เม.ย. 66 กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองหารระดับสารเคมีในเลือดเกษตรกร 0 0.00 21,900.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมากกว่าร้อยละ ๙๐ ๒. กลุ่มปกติมีความรู้เรื่องสารเคมีในเลือดเพิ่มขึ้น ๓. กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงทุกราย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2566 11:48 น.