กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลปากแจ่ม ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L1536-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปากแจ่ม
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 16,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุษา ทองมุกดากุล
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุน สปสช.อบต.ปากแจ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.737,99.724place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1385 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลปากแจ่ม ปี ๒๕๖๖ ชื่อกองทุน กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากแจ่ม ปี ๒๕๖๖  สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข [ข้อ 10(1)]  สนับสนุนการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น [ข้อ 10(2)]  สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ [ข้อ 10(3)]  สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]  สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ [ข้อ 10(5)] หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ  หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.  หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล  หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.  หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน กองการศึกษาฯ  กลุ่มหรือองค์กรประชาชนตั้งแต่ 5 คน ชื่อองค์กร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่ม วันอนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่  วันที่ ๒ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๖
ถึง    วันที่ ๒๙ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๖ งบประมาณ จำนวน ๑๖,๕๘๐ บาท หลักการและเหตุผล
  โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ –๑๔ ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย
  สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ.2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 5 ตุลาคม 2565 มีรายงานผู้ป่วยสะสม 27,912 ราย อัตราป่วย 42.18 ต่อประชากรแสนคน และพบผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วทั้งหมด 25 ราย อัตราตาย ร้อยละ 0.07 ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 19 ราย อายุน้อยกว่า 15 ปี จำนวน 6 ราย พบผู้ป่วยกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ (สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค) จังหวัดตรัง พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 167 ราย ยังไม่พบผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่มีอัตราผู้ป่วยสูงสุด คือกลุ่ม 5-9 ปี ได้รับรายงานผู้ป่วย จำนวนทั้งสิ้น 15 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 15.96 ต่อแสน ปชก. ซึ่งข้อมูลโรคไข้เลือดออกตำบล ปากแจ่ม พบว่ามีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว จำนวน ๕ ราย (สูงกว่าปี ๒๕๖๕ ณ ช่วงเวลาเดียวกัน) จากรายงานสถานการณ์โรคพื้นที่ตำบล ปากแจ่มเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชนองค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
        ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากแจ่ม ได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบล ปากแจ่ม ปี ๒๕๖๖ เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ “โรคไข้เลือดออก” ก่อนฤดูการระบาดและเพื่อลดความเสี่ยงต่อการโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลปากแจ่ม

วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด ๑. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๒. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และความเข้าใจในการป้องกันควบคุมโรค ๓. เพื่อรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน ๑. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธยฐาน ๕ ปีย้อนหลัง
ร้อยละ ๒๐ ๒. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และความเข้าใจในการป้องกันควบคุมโรค ร้อยละ ๘๐ ๓. ร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้าน พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ ๕ (ค่า HI ไม่เกิน ๕) กลุ่มเป้าหมาย 1. ครัวเรือนหมู่ที่ ๑-๗ ต.ปากแจ่ม จำนวน 1,๓๘๕ ครัวเรือน 2. อสม. จำนวน 8๓ คน ๓. ตัวแทนครัวเรือน หมู่บ้านละ ๑๐ คน ๔. ตัวแทนนักเรียน โรงเรียนละ ๑๐ คน วิธีดำเนินการ/ขั้นตอนดำเนินงาน

กิจกรรม เดือน มค. 6๖ กพ. 6๖ มีค. 6๖ เมย. 6๖ พค. 6๖ มิย.6๖ กค.6๖ สค.6๖ กย.6๖ 1. จัดทำโครงการ
2. เสนอโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ

3. ชี้แจงโครงการและระยะเวลาดำเนินงาน

4. ขออนุมัติโครงการ/จัดซื้อตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

5. ดำเนินโครงการ   ๕.๑ กิจกรรมอบรมให้ความรู้การป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน   ๕.๒ กิจกรรมสัปดาห์รณรงค์ Asean Dengue Day (15 มิถุนายน)   ๕.๓ กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ไข้เลือดออกในหมู่บ้าน   ๕.๓ กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม (กำจัดลูกน้ำยุงลาย) ดำเนินการป้องกันและติดตามเฝ้าระวังลูกน้ำยุงลาย โดย อสม.เดือนละ 1 ครั้ง


6. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ


สถานที่ดำเนินการ ม.๑-๗ ต.ปากแจ่ม งบประมาณ ได้รับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปากแจ่ม เป็นเงิน ๑๖,๕๘๐ บาท (หนึ่งหมื่นหกพันห้าร้อยแปดสิบบาทถ้วน) รายละเอียด ดังนี้

ชนิดกิจกรรม งบประมาณ ระบุวัน/ช่วงเวลา 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้การป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน

  • ป้ายโครงการ ๑*๒ เมตร จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน ๓๐๐ บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๓ ชั่วโมงๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๘๓ คนๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๒,๐๗๕ บาท ๑ เมษายน – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖
    1. กิจกรรมสัปดาห์รณรงค์ Asean Dengue Day (15 มิถุนายน) และกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ไข้เลือดออกในหมู่บ้าน
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด ๑.๒*๒.๔ เมตร ป้ายละ ๔๕๐ บาท จำนวน ๒ ป้าย เป็นเงิน ๙๐๐ บาท
    • ค่าโฟมบอร์ด จำนวน ๓ อันๆละ ๑๘๐ บาท เป็นเงิน ๕๔๐ บาท
    • ค่ารถประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน จำนวน ๘ ครั้ง ครั้งละ 1,๒00 บาท เป็นเงิน ๙,๖00 บาท ๑ พฤษภาคม – ๒๙ กันยายน ๒๕๖๖ ๓. กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม (กำจัดลูกน้ำยุงลาย) ดำเนินการป้องกันและติดตามเฝ้าระวังลูกน้ำยุงลาย โดย อสม.เดือนละ 1 ครั้ง - ถุงมือยาง ไซต์ S,M จำนวน ๘ กล่องๆละ ๑๓๐ บาทเป็นเงิน ๑,๐๔๐ บาท
    • ถุงขยะดำ ขนาด ๒๖"*๒๖" จำนวน ๕ พับๆละ ๖๕ บาท เป็นเงิน ๓๒๕ บาท ๑ พฤษภาคม – ๒๙ กันยายน ๒๕๖๖ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๖,๕๘๐ บาท (หนึ่งหมื่นหกพันห้าร้อยแปดสิบบาทถ้วน)

การประเมินผล วัตถุประสงค์ ตัวบ่งชี้ เครื่องมือวิธีการ เกณฑ์ ๑. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก อัตราป่วยโรคไข้เลือดออก ข้อมูลรายงานผู้ป่วยใน โปรแกรม R๕๐๖ ลดลงจากค่ามัธยฐาน ๕ ปีย้อนหลัง ร้อยละ ๒๐ ๒. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และความเข้าใจในการป้องกันควบคุมโรค ร้อยละ ๘๐ อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และความเข้าใจในการป้องกันควบคุมโรค แบบประเมินความรู้การป้องกันควบคุมโรค ก่อน-หลัง อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และความเข้าใจในการป้องกันควบคุมโรค ร้อยละ ๘๐ ๓. เพื่อรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือน ร้อยละของหมู่บ้าน พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ ๕ (ค่า HI ไม่เกิน ๕) แบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย ร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้าน พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ ๕ (ค่า HI ไม่เกิน ๕)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ   ๑. ประชาชนเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก   ๒. ประชาชนให้ความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย   ๓. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลปากแจ่ม   ๔. เกิดความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมากขึ้น ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ อาสาสมัครสาธารณสุข สมาชิก อบต. ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2566 15:58 น.