กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากแก่ประชาชนตำบลนาหมื่นศรี
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหมื่นศรี
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 95,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจตุพร อ่อนรู้ที่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.609,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานสุรา , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2565 30 ก.ย. 2566 95,250.00
รวมงบประมาณ 95,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 580 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ส่งผลกระทบต่อการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะปากคือประตูสู่สุขภาพ ปัญหาสุขภาพช่องปากจะส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย เราจำเป็นต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้สมบูรณ์ ต้องดูแลตั้งแต่เริ่มแรกและคงสภาพไว้ให้ดี ให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ป้องกันการเกิดโรค ซึ่งดีกว่าการรักษา เพราะทำในสภาวะปกติ ไม่เจ็บปวด ดูแลและให้บริการเชิงรุก
ปัญหาทันตสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดตรังคือ โรคฟันผุ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกกลุ่มอายุของประชาชนผลจากการสำรวจสถานการณ์ทันตสุขภาพของตำบลนาหมื่นศรี ปี ๒๕๖5 เด็กอายุ 18 เดือน มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ 10.53 เด็กอายุ ๓ ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนม ร้อยละ 30 เด็กอายุ 12 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันแท้ ร้อยละ 28.57 ผู้สูงอายุมีความจำเป็นต้องใส่ฟันเทียมร้อยละ 67
      การดำเนินงานทันตสาธารณสุขจึงต้องกำหนดพัฒนางานทันตสาธารณสุขโดยให้กิจกรรมที่ดำเนินการสอดคล้องกับสาเหตุ ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายด้วยการผสมผสานทั้งการสร้างเสริมป้องกันทันตสุขภาพและการบริการทางทันตกรรมเชิงชุก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อ ส่งเสริม ป้องกันสุขภาพช่องปากทุกกลุ่มวัย ในตำบลนาหมื่นศรีให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2.เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้เข้าถึงสถานบริการทันตกรรมอย่างทั่วถึง

ตัวชี้วัด ร้อยละ 20 ของประชาชนทุกกลุ่มวัยในตำบลนาหมื่นศรีได้รับการส่งเสริม และป้องกันสุขภาพช่องปากอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด ร้อยละ 20 ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้เข้าถึงบริการทันตกรรม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 การดำเนินงาน(1 ต.ค. 2565-30 ก.ย. 2566) 0.00                        
รวม 0.00
1 การดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดีและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตร ๒. เด็กปฐมวัยที่มีฟันผุระยะเริ่มแรกลดลงหลังได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชและผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรมากขึ้น ๓. เด็กนักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นและปราศจากโรคฟันผุเพิ่มมากขึ้น ๔. กลุ่มวัยทำงานได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและได้รับบริการทันตกรรมเพิ่มมากขึ้น ๕. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและเข้าถึงบริการมากขึ้น ๖. เกิดการพัฒนาและมีการจัดบริการส่งเสริม ป้องกันในระบบบริการปฐมภูมิ
7.โรคฟันผุลดลง ประชาชนทุกกลุ่มวัยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2566 14:54 น.