กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เพิ่มพูนความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียเพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์
รหัสโครงการ L7250-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
วันที่อนุมัติ 20 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 75,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปฐมพร โพธิ์ถาวร ตำแหน่ง อาจารย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.202758,100.587934place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 500 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเด็กเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็วขึ้นประกอบกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยทำให้เด็กวัยเรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารเรื่องเพศได้ง่ายและรวดเร็วด้วยตนเองรวมทั้งการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับเพศอย่างเสรีในปัจจุบันในรูปแบบต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ต เว็บแคม (Webcam) วีดิโอคอล (Video Call) โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ นิตยสารต่าง ๆ รวมทั้งทัศนคติทางเพศของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือยอมรับการอยู่ร่วมกัน ก่อนแต่งงาน (Ounjit, 2011) ทำให้วัยรุ่นที่อยู่ในวัยเรียนรับรู้จนคุ้นเคยเกิดความรู้สึกว่าการแสดงออกทางเพศหรือการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติธรรมดา ทุกคนสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ (Sittipiyasakul, Nuwong, Lucksitanon & Uamasan, 2013) การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสและการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเรียน ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด ภาวะโลหิตจาง (McKinney, James, Murray, Nelson & Ashwill, 2015).ซึ่งภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาสุขภาพ ที่พบได้บ่อยในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น จากการให้บริการของแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสงขลา พบประเด็นปัญหาที่สำคัญ คือ สตรีตั้งครรภ์ส่วนหนึ่งมีภาวะโลหิตจาง เนื่องจากเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งไม่แสดงอาการใดๆ มาก่อน ตรวจพบได้จากการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอด ส่งต่อไปยังลูกหลานในรุ่นต่อๆ ไปได้ การตั้งครรภ์แต่ละครั้งของสตรีที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย  มีโอกาสคลอดทารกที่มีภาวะสุขภาพปกติร้อยละ 25 เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียร้อยละ 50 และเป็นโรคธาลัสซีเมีย  ร้อยละ 25 (มณีภรณ์ โสมานุสรณ์, 2562) ขณะตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์มีโอกาสเจริญเติบโตช้า พิการ หลังจากคลอด ทารกอาจมีอาการซีดมาก ติดเชื้อง่าย ต้องได้รับการรักษาโดยการเปลี่ยนถ่ายเลือดบ่อยๆ ถ้าหากแต่งงานกับชายที่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย อาจเป็นคู่เสี่ยงที่ทำให้ทารกในครรภ์เกิดความพิการอย่างรุนแรงและเสียชีวิตในครรภ์ได้ ความเสี่ยงนี้มีโอกาสพบได้สูงมากขึ้นในคู่สมรสที่ขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ยินยอมรับการตรวจภาวะธาลัสซีเมีย ซึ่ง การตรวจคัดกรองการเป็นพาหะธาลัสซีเมียนี้ ที่ถูกต้องควรทำก่อนการสมรส เพื่อการวางแผนการตั้งครรภ์ที่ดี แต่เนื่องจากวิถีชีวิตของประชาชนในประเทศไทยไม่นิยมตรวจเลือดก่อนสมรส และการตกลงแต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์ในบางคู่อาจเกิดขึ้นก่อนการคัดกรองภาวะของโรคธาลัสซีเมีย จึงทำให้พบปัญหา มีผู้เป็นพาหะธาลัสซีเมีย ประมาณ 20-22 ล้านคน เป็นโรคธาลัสซีเมียประมาณ 600,000 คน (สมบูรณ์ บุณยเกียรติ, 2557)
จังหวัดสงขลามีสถาบันการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับหลายแห่ง เฉพาะในเขตอำเภอเมืองสงขลาที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลนครสงขลามีทั้งสายสามัญและสายอาชีพ นักเรียนที่มาเรียนในสถาบันการศึกษาส่วนหนึ่งต้องมาเช่าหอพักอยู่ หรือมาอยู่กับญาติ ประชากรนักเรียนเหล่านี้เป็นเจริญพันธุ์ที่สามารถตั้งครรภ์ได้ และมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์ในวัยเรียน จำนวนนักเรียนของแต่ละสถาบันมีมากน้อยแตกต่างกัน นักเรียนวัยเจริญพันธุ์เหล่านี้ส่วนหนึ่งกำลังศึกษาในระดับมัธยมปลาย หรือระดับ ปวช. ในแต่ละปีมีจำนวนนักเรียนประมาณ 6,000-7,000 คน โดยมีจำนวนนักเรียนสายสามัญในแต่ละโรงเรียนดังนี้ โรงเรียนมหาวชิราวุธ มีนักเรียนมัธยมปลายรวม 1,827 คน โรงเรียนวรนารีเฉลิม 1,655 คน โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) จำนวน 429 คน โรงเรียนแจ้งวิทยา 452 คน โรงเรียนวชิรานุกูล 147 คน และจำนวนนักเรียนวิทยาลัยการอาชีพ มีดังนี้ วิทยาลัยอาชีวะศึกษา 1452 คน วิทยาลัยเทคนิคสงขลา (วิทยาลัยสารพัดช่าง) 735 คน วิทยาลัยเทคโนโลยีวชิราโปลีเทคนิค 53 คน ซึ่งหากนักเรียนเหล่านี้เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียก็จะมีโอกาสให้กำเนิดทารกที่เป็นพาหะหรือเป็นโรคธาลัสซีเมียได้ ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ และภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ตระหนักถึงโอกาสที่จะเกิดปัญหาสุขภาพกับสตรีตั้งครรภ์ในวัยเจริญพันธุ์ที่เป็นสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น เพราะเป็นวัยที่ยังไม่พร้อมต่อการตั้งครรภ์ อาจมีการปกปิด ไม่ฝากครรภ์ ไม่เข้าใจถึงความสำคัญของการตรวจเลือดคัดกรองปัญหาสุขภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ จึงจัดโครงการเพิ่มพูนความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียเพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ขึ้น เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายโรงเรียนมหาวชิราวุธ โรงเรียนวรนารีเฉลิม โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) โรงเรียนแจ้งวิทยา โรงเรียนวชิรานุกูล และนักเรียนระดับชั้น ปวช. วิทยาลัยอาชีวะศึกษา วิทยาลัยเทคนิคสงขลา (วิทยาลัยสารพัดช่าง) วิทยาลัยเทคโนโลยีวชิราโปลีเทคนิค รวมทั้งหมด 500 คน  ที่มีอายุช่วงวัยเจริญพันธุ์ในเขตเทศบาลนครสงขลาขึ้น เพื่อให้เยาวชนเหล่านี้มีความรอบรู้เรื่องสุขภาพ สามารถดูแลตนเองได้เมื่อเข้าสู่พัฒนกิจของการตั้งครรภ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย

1.ร้อยละ 80 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียอยู่ในระดับดีขึ้นไป

80.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีเจตคติที่ดีในการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย

2.ร้อยละ 80 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีเจตคติที่ดีในการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย

80.00
3 3. เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายนำความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียไปเผยแพร่แก่บุคคลอื่นต่อไป

3.ร้อยละ 10 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายนำความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียไปเผยแพร่แก่บุคคลอื่นต่อไป

10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมละลายพฤติกรรม เปิดใจเพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจ ในการตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ แนวโน้มที่จะตั้งครรภ์ในวัยเรียน(20 เม.ย. 2566-31 ส.ค. 2566) 75,520.00            
รวม 75,520.00
1 กิจกรรมละลายพฤติกรรม เปิดใจเพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจ ในการตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ แนวโน้มที่จะตั้งครรภ์ในวัยเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2500 75,520.00 0 0.00 75,520.00
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม 500 30,000.00 - -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มวิทยากรและคณะทำงาน 500 1,260.00 - -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม 500 30,000.00 - -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าอาหารกลางวันวิทยากรและคณะทำงาน 500 1,260.00 - -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าเอกสารประกอบการบรรยาย 0 3,000.00 - -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าวัสดุ 500 10,000.00 - -
รวมทั้งสิ้น 2,500 75,520.00 0 0.00 75,520.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียมากกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ
  2. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีเจตคติที่ดีในการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมียมากกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2566 10:27 น.