กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งคล้า ปี 2566
รหัสโครงการ 66 – L3054 -1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งคล้า
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 24,545.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกิ่งกมล ชูพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.688,101.543place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 77 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิตนับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรกเป็นช่วงทองของเด็กที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาการสมองเพราะเป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายใยประสานนับล้านโครงข่าย ทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์อย่างมีประสิทธิภาพมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเด็กจึงควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดย 270 วันอยู่ในท้องแม่ ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ลูกควรได้รับการเตรียมพร้อมสมองร่วมกับพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบกิน กอด เล่น เล่า นอนเฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครองและชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทยให้มีคุณภาพ
    ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัยจึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและสุขภาพที่แข็งแรง น้ำหนักทารกแรกเกิดเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญของการเจริญเติบโตและการมีชีวิตรอดของทารก ทารกที่มีน้ำหนักน้อยว่า 2,500 กรัมมีอัตราการอยู่รอดต่ำ มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการล่าช้า ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ จากการดำเนินงานด้านอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งคล้า ปีงบประมาณ 2565 พบว่าหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 84.62 (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 75) หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 76.92 (เป้าหมายร้อยละ 75 ) ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 7.69 (เป้าหมายร้อยละ 7 ) เด็กอายุแรกเกิดถึง 6 เดือนได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 95.24 (เป้าหมายร้อยละ 50 ) เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 88 (เป้าหมายมากกว่าร้อยละ 85 ) ดั้งนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งคล้า จึงได้จัดทำโครงการ“ส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก 1,000 วันแรกแห่งชีวิต”ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75
  2. หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ(รพ.) ร้อยละ 100
  3. เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน และฟันไม่ผุ วัคซีนครบตามเกณฑ์ สมาร์ทคิดส์ร้อยละ 90
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2566 14:11 น.