กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและ อสม.
รหัสโครงการ 66-L5264-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 20 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 85,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพัทธนัย จอเอียด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว ตำบลทำนบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.246,100.506place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 85,950.00
รวมงบประมาณ 85,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละการลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
70.00
2 ร้อยละการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย
70.00
3 การจัดหาเครื่องพ่นหมอกควัน และวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้น ได้ทั้งชุมชนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ – ๑๔ ปีแต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ซึ่งในการควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงาน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางดำเนินการควบคุมโรค เหตุรำคาญ และภัยสุขภาพ ตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๖๗ (๓) บัญญัติให้ องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ (๖) และ (๓๙) บัญญัติให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล หลักการควบคุมโรคไข้เลือดออก แบ่งเป็น ๒ ระยะ คือ การป้องกันโรคล่วงหน้า และการควบคุมเมื่อมีการระบาดมาตรการป้องกันโรคล่วงหน้า เป็นกิจกรรมดำเนินงาน เตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้น ก่อนที่จะถึงฤดูกาลระบาด โดยลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงตัวเต็มวัยให้เหลือจำนวนน้อยที่สุด ถือว่า เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ การป้องกันโรคล่วงหน้ามีกิจกรรม ดังนี้(๑.) ให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องปัจจัยที่ก่อให้เกิดการป่วย โดยการจัดการบ้านเรือนของตนไม่ให้มีแหล่ง เพาะพันธุ์ยุง และวิธีการปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก อาจจะทำได้หลายช่องทางด้วยกัน คือทางสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เสียงตามสาย และหอกระจ่ายข่าวทางโรงเรียน โดยให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ไปถ่ายทอด และ ไปปฏิบัติที่บ้านแจกเอกสาร เช่น แผ่นพับ คู่มือ(๒.) ขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการในท้องที่ ให้เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก (๓.) ขอความร่วมมือจากผู้นำท้องถิ่น/พระ ในการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือประชาชน (๔.) การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย (๔.๑) วิธีทางกายภาพ ได้แก่ ปิดภาชนะเก็บน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงวางไข่,เปลี่ยนน้ำในภาชนะ ทุกๆ ๗ วัน เพื่อไม่ให้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย , จัดการสิ่งแวดล้อม เช่น กำจัดแหล่งขยะที่มีภาชนะน้ำขังได้(๔.๒) วิธีทางชีวภาพ ได้แก่ การปล่อยปลากินลูกน้ำ ( ๔.๓ ) วิธีทางเคมี ได้แก่ ใส่ทรายทีมีฟอส , การพ่นเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย เป็นวิธีควบคุมยุงลายที่ได้ผลดี แต่ให้ผลเพียงระยะสั้น (เพียง ๓ – ๕ วัน) และอาจทำให้เกิดการดื้อยา จำเป็นต้องมี การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายร่วมด้วยเสมอ สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖๖ ( มกราคม.- กุมภาพันธ์. ) ในเขตพื้นที่อำเภอสิงหนครเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในเดือนมกราคม ย้อนหลัง ๕ ปี พบว่ามีอัตราป่วยเกินค่ามัธยฐาน ๓เท่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตำบลที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือต.ทำนบอัตราป่วยเท่ากับ ๙๒.๖๑ ( ๔ ราย ) รองลงมาต.ชะแล้ เท่ากับ ๗๐.๐๐ ( ๒ ราย ) , ต.ชิงโค เท่ากับ ๔๓.๘๐ ( ๒ ราย ) , ต.สทิงหม้อ เท่ากับ ๔๐.๐๑ ( ๕ ราย ) , ต.หัวเขา เท่ากับ ๓๖.๘๕ ( ๓ ราย ) , ต.รำแดง เท่ากับ ๑๙.๕๔ ( ๑ ราย ) , ต.ม่วงงาม เท่ากับ ๑๖.๙๖ ( ๒ ราย ) . ต.วัดขนุน เท่ากับ ๑๑.๘๔ ( ๑ ราย )ต.บางเขียดต.ป่าขาด และ ต.ปากรอ ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก การควบคุมโรคไข้เลือดออกต้องดำเนินการทั้งทางด้านกายภาพเคมี และชีวภาพร่วมกัน โดยการกำจัดลูกน้ำและตัวแก่ในเวลาใกล้เคียงกันจึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าตำบลทำนบ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในเด็กเล็ก นักเรียน และประชาชน ในพื้นที่ของตำบลทำนบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว หมู่ที่ ๓ ตำบลทำนบ จึงได้จัดทำโครงการ “ ป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและ อสม.” ขึ้น เพื่อประสานความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมมือควบคุม เฝ้าระวัง ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เป็นการเตรียมรับ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนวัดโรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน สร้างความตระหนัก และรับมือกับการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลง

70.00 75.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI น้อยกว่าหรือเท่ากับ ๑๐ CI เท่ากับ ๐

70.00 90.00
3 เพื่อจัดหาเครื่องพ่นหมอกควัน และวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

เครื่องพ่นหมอกควันและวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

1.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 30 เม.ย. 66 จัดทำโครงการควบคุม เฝ้าระวัง ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกในตำบลทำนบ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ 0 0.00 0.00
1 - 30 เม.ย. 66 ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ เหตุผลและความจำเป็นจัดหาเครื่องพ่นหมอกควัน และวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 0.00 0.00
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อม อบรมให้ความรู้ 0 2,250.00 2,250.00
1 พ.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และสำรวจลูกน้ำ ยุงลาย รณรงค์ ควบคุม ป้องกันโรคล่วงหน้า 0 57,140.00 57,140.00
2 พ.ค. 66 - 1 ต.ค. 66 กิจกรรม ควบคุมโรคไข้เลือดออก ในช่วงระบาดของโรค หรือกรณีมีผู้ป่วยในพื้นที่ 0 26,560.00 26,560.00
29 ก.ย. 66 สรุปผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 0.00
รวม 0 85,950.00 6 85,950.00

ค่าใช้จ่ายถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
๒. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
๓. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
๔. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2566 15:52 น.