กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแกนนำหมู่บ้านป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 8
รหัสโครงการ 66-L5270-2-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 8
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 6,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพัตรา สุวรรณโณ นายเนิน สมพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.304,100.497place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 6,380.00
รวมงบประมาณ 6,380.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษา

พยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่า

มัธยฐาน ๕ ปี ย้อนหลังอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2563 -2564) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.2565 จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง

95,000 ราย โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้ม พบจำนวนผู้ป่วยประมาณ 3,000 – 4,000 รายต่อเดือน และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม จนสูงที่สุดประมาณ 10,000–16,000 รายต่อ

เดือนในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน-กันยายน) ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่

นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธี

การแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม

สถาณการณ์โรคไข้เลือดออกในหมู่ 8 มีอย่างต่อเนื่อง และจากสภาพสิ่งแวดล้อม ลักษณะบ้านเรือน การอยู่อาศัย และพฤติกรรมต่างๆของประชาชน มีความเสี่ยงสูง ต่อการเกิดโรคไข้เลือด

ออกได้โดยง่าย ชมรม อสม.จึงได้จัดทำโครงการแกนนำหมู่บ้านป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 8 ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการ

ทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน มัสยิด โรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก

ร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีการกำจัดขยะของตนเองให้เหมาะสม

 

2 เพื่อให้ประชาชนช่วยกันสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยวิธีที่เหมาะสม

 

3 เพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีการกำจัดขยะของตนเองให้เหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ประชาชนช่วยกันสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยวิธีที่เหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 รณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก 30.00 6,380.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.ประชุมชี้แจงรายละเอียดและวางแผนการดำเนินงาน

2.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน

3.จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้แกนนำเรื่องการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม/การกำจัดขยะ/การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ภาคสนามเคาะประตูบ้าน เดินรณรงค์โดยเดินทุกบ้านพร้อมให้ความรู้เรื่องการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม/การกำจัดขยะ/การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ

4.จัดกิจกรรมการปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

5.กิจกรรมเฝ้าระวังการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สำรวจลูกน้ำยุงลาย และกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ ใส่ทรายอะเบท และติดตามประเมินการกำจัดขยะ การปรับปรุง สิ่งแวดล้อม เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 5 เดือนติดตามสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลายโดย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เดือนละครั้ง

6.ติดตาม สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

2.ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2566 10:41 น.