กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในพื้นที่ตำบลบางปอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัด อบต. องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบางปอ
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 129,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยนายมือแร เจ๊ะนิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.804place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (การเข้าสุนัต) คือการทำความสะอาดร่างกายที่ต้องตัดแต่งเพื่อขจัดความสกปรกและเหตุผลทางการแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านนบีมูฮำหมัดศ็อลฯ ได้ให้โอวาทไว้ดังนี้ ธรรมชาติ 5 สิ่ง ในร่างกายมนุษย์ ที่ต้องได้รับการตกแต่ง คือการขลิบหนังปลายหุ้มอวัยวะเพศชาย ขจัดขนในร่มผ้า ตัดเล็บ และการตกแต่งหนวดเครา การตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้ชาย เพื่อความสะอาดเป็นสำคัญ จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 70 - 80 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือ ขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดล้างออกได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมเกิดมะเร็งที่องคชาติได้ (นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร) นอกจากนี้การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส เเผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย จากบริบทพื้นที่ 3 จังหวัดชายเเดนใต้ พบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือ "คีตาล (ภาษาอาหรับ) หรือ "ทำสุนัต"(ภาษามลายู) มักทำกับหมอบ้านหรือ"โต๊ะมูเด็ง "จากความเชื่อ และประเพณีของชุมชน โดยผู้ปกครองเด็กเชื่อว่า "การทำกับเเพทย์จะทำให้อวัยวะเพศไม่เเข็งแรง" "การทำกับโต๊ะมูเด็งเป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนเเก่เคยทำกัน" เป็นต้นซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีเหตุการณ์เลือดออกมาก (bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อกหรือการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้เครื่องร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี ดังนั้นงานสาธารณสุข สำนักปลัด อบต. องค์การบริหารส่วนตำบลบางปอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือสุนัตในกลุ่มเด็กเยาวชน และประชาชนในพื้นที่ โดยเเพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายเเบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กเยาวชน และประชาชนในพื้นที่ ได้รับบริการที่ปลอดภัยเเละมีคุณภาพยิ่งขึ้น จึงจัดทำโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในพื้นที่ตำบลบางปอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อเอาหนังหุ้มปลายของอวัยวะเพศชาย (ส่วนเกิน) ออกไป เพื่อให้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศเปิดทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด สามารถล้างสิ่งสกปรกจากสารคัดหลั่ง เช่น คราบเหงื่อ คราบปัสสาวะที่หมักหมมอยู่ตามบริเวณใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะซึ่งเป็นศูนย์รวมของเชื้อโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กเยาวชน ประชาชนชายในพื้นที่ และผู้ปกครองดูแลเด็ก มีความรู้ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

 

2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กเยาวชน และประชาชนชายในพื้นที่ขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 จัดประชุมเตรียมความพร้อม

2 ประชาสัมพันธ์

3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่เด็กเยาวชน ประชาชนชายในพื้นที่ และผู้ปกครองดูแลเด็ก

4 กิจกรรมขลิบแก่เด็กเยาวชน ประชาชนชายในพื้นที่ตำบลบางปอ

5 รายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เด็กเยาวชน ประชาชนชายในพื้นที่ และผู้ปกครองเด็ก ได้มีความรู้ เข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

2 เด็กเยาวชน ประชาชนชายในพื้นที่ได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด (Bleeding) ภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อ รวมทั้งสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครอง ชุมชนในการป้องกันโรคติดเชื้อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2566 15:07 น.