กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างสุขผู้สูงวัยดูแลห่วงใยไม่ทิ้งกัน เขตเทศบาลตำบลบางแก้ว
รหัสโครงการ 016
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ
วันที่อนุมัติ 15 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 10 พฤศจิกายน 2566
งบประมาณ 18,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ร.ต.ต.คมกริช แท่นประมูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ หมายถึง สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าแนวโน้มจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศไทยต้องหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาที่มาพร้อมการเข้าสู่งสังคมผู้สูงอายุ เช่นปัญหาสุขภาพ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและครอบครัวรวมถึงสมาชิกในชุมชน โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากวัยสูงอายุ มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่เสื่อมลงทั้งทางด้านร่างกายจิตใจและสังคม ทั้งนี้พบว่า ผู้สูงอายุมีสถิติการเกิดโรคมากกว่าวัยอื่นๆ ถึง 4 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปี ประมาณ 4 ใน 5 คน จะมีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค ส่วนปัญหาทางด้านจิตใจในผู้สูงอายุที่สำคัญ คือ ภาวะซึมาเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียบุคคลใกล้ชิด ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมเช่นการขาดรายได้ การเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ในสังคม การอยู่อาศัยในครอบครัวที่เล็กลงและอยู่ตามลำพังคนเดียวมากขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้สูงอายุต้องได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพและส่งเสริมบทบาททางสังคม เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลตนเองในครอบครัวและร่วมกันดูแลผู้สูงอายุในชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคน ตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การปรับตัว การมีบทบาทในสังคมอย่างต่อเนื่องและการมีศักยภาพเพื่อให้เป็นผู้สูงวัยที่มีคุณภาพสามารถพึ่งตนเองได้รวมถึงความสามารถช่วยเหลือสังคมได้อย่างมีคุณค่า ดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต   ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ มีการรวมกลุ่มกันของผู้สูงอยู่ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านท่ามะเดื่อ มีสมาชิกจำนวน 212 คน คิดเป็นร้อยละ 90.98 ของผู้สูงอายุในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกันในการสร้างเสริมสุขภาพและส่งเสริมบทบาทในสังคม ร่วมดูแลช่วยเหลือกันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน เกิดสังคมเอื้ออาทรไม่ทอดทิ้งกัน ทางชมรมฯได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดการปัญหาในสังคมผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการสร้างสุขผู้สูงวัยดูแลห่วงใยไม่ทิ้งกัน เขตเทศบาลตำบลบางแก้ว อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2566 ขี้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ โดยจัดกิจกรรมต่างๆโดยผู้สูงอายุเพื่อผู้สูงอายุ ซึ่งสอดคลองกับความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวชุมชนและภาคีเครือข่าย พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมร่วมพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนสมาชิกและมีการช่วยเหลือกันในชุมชน สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีดำรงชีวิตอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้อย่างปกติสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 18,000.00 1 18,000.00
10 พ.ย. 66 สร้างสุขผู้สูงวัยดูแลห่วงใยไม่ทิ้งกัน 50 18,000.00 18,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม 2.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ดีจากครอบครัวและชุมชน 3.ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างปกติสุข 4.ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของชุมชนมีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเองและเพื่อนสมาชิกมีการดูแลช่วยเหลือกันในชุมชน 5.มีแกนนำจิตอาสาผู้สูงอายุร่วมกับเครือข่ายสุขภาพในชุมชนร่วมกันดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 6.มีชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมต่อเนื่องมีการเชื่อมประสานกับเครือข่ายและหน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2566 10:26 น.