กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการการฝากครรภ์ และส่งเสริมสุขภาวะเด็กก่อนวัยเรียน
รหัสโครงการ 66-02-L4121-26
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคอกช้าง
วันที่อนุมัติ 18 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 33,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีซัน มะแซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ หมู่ที่ 5 บ้านฆอแย และหมู่ที่ 7 ตำบลแม่หวาด ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.102,101.384place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 33,000.00
รวมงบประมาณ 33,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยอย่างรวดเร็ว จากการเกิดที่มีจำนวนน้อยลงเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ เช่น ประชากรวัยแรงงานมีแนวโน้มใช้ชีวิตโสดมากขึ้น แต่งงานช้าลง “เด็กเกิดน้อย ด้อยคุณภาพ” (สำนักโภชนาการ กรมอนามัย 2560) การส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพได้มีการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อก้าวไปสู่ประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้ว คุณภาพการเกิดและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยด้วย โดยอาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหา จากการภาวะโลหิตจาง ในหญิงตั้งครรภ์ ถือเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่พบได้บ่อยที่สุดในสตรีตั้งครรภ์ โดยมีอุบัติการณ์เฉลี่ยร้อยละ 42 ของการตั้งครรภ์และจะมีความรุนแรงที่มากขึ้นดังมีรายงานการเสียชีวิตของมารดาสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางถึงร้อยละ20โดยสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเกิดจาก ภาวะขาดธาตุเหล็ก ในช่วงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบโลหิต โดยในครรภ์เดี่ยวจะมีการเพิ่มปริมาณเลือดทั้งหมดประมาณร้อยละ 50 (1000 ml) โดยปริมาณเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 25 (300 ml) ซึ่งการที่มีปริมาณพลาสมาเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่มากกว่า ทำให้เกิดภาวะhemodilution ซึ่งไม่ใช่ภาวะโลหิตจางที่แท้จริง และ Hb มักไม่ต่ำกว่า 10 g/dl(3) การดูแลการคัดกรอง ให้คำปรึกษา และการติดตามดูแลภาวะแทรกซ้อน ในขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น การเจริญเติบโตและพัฒนาการคือ ปัญหาเด็กปฐมวัยมีภาวะเตี้ย ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ เด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตามกระตุ้น เด็กปฐมวัยสูงดีสมส่วนและเด็กปฐมวัยเตี้ย เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุตั้งแต่เตรียมความพร้อมของครอบครัว การดูแลก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ การส่งเสริมการเจริญเติบโต การเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย ปัญหาดังกล่าว จัดทำโครงการบูรณาการการฝากครรภ์ และส่งเสริมสุขภาวะเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อป้องกันมารดาตาย พัฒนาการ เด็กปฐมวัยสูงดีสมส่วนและเด็กปฐมวัยเตี้ย เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ โดยให้สตรีและเด็กปฐมวัยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เริ่มตั้งแต่การเตรียมครอบครัวคุณภาพ การตั้งครรภ์คุณภาพ การส่งเสริมการเกิดและเติบโตของเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม

 

2 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ฝากครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ คลอดทารกน้ำหนักมากว่า 2500 กรัมและคลอดที่โรงพยาบาล

 

3 3. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธุ์ มีความรู้ในการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็ก และแก้ไขภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้

 

4 4. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีน ฟันผุในเด็ก โภชนาการ และภาวะโลหิตจางในเด็ก 6-12เดือน

 

5 5. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำอสม.ในงานอนามัยแม่และเด็ก ให้มีความรู้ความสามารถในการแนะนำ และติดตามหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และการดูแลส่งเสริมสุขภาพ เด็ก 0-5 ปี(4D)

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66
1 โครงการบูรณาการการฝากครรภ์ และส่งเสริมสุขภาวะเด็กก่อนวัยเรียน(1 พ.ค. 2566-31 ธ.ค. 2566) 0.00                
รวม 0.00
1 โครงการบูรณาการการฝากครรภ์ และส่งเสริมสุขภาวะเด็กก่อนวัยเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงที่วางแผนการตั้งครรภ์และหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ในการเตรียมพร้อมในการดูแลสุขภาพตนเอง และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดได้ ร้อยละ 80
  2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ ร้อยละ 80
  3. ลดภาวะการเกิดโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์จากการขาดธาตุเหล็ก
  4. ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องวัคซีน ฟันผุในเด็ก โภชนาการ และภาวะโลหิตจางในเด็ก 6-12เดือน ร้อยละ 80
  5. พัฒนาศักยภาพแกนนำอสม.ในงานอนามัยแม่และเด็ก (หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และการดูแลส่งเสริมสุขภาพ เด็ก 0-5 ปี) ให้มีความรู้ความสามารถในการแนะนำ ติดตามและพิจราณาส่งต่อในรายผิดปกติ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2566 10:54 น.