กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสนับสนุน การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมแก่ผู้สูงวัยในชุมชน
รหัสโครงการ L7250-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานชมรมผู้สูงอายุ
วันที่อนุมัติ 20 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 16,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางลัดดา บัวใหญ่ ตำแหน่ง ประธานชมรมผู้สูงอายุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.200374,100.594458place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในภาวการณ์ปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว  การดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพมีการแข่งขันค่อนข้างสูง มีการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งสภาพบ้านเมืองในปัจจุบันที่ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ ราคาสินค้าโดยทั่วไปได้ปรับตัวสูง ประชาชนโดยทั่วไปจึงต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น การประกอบอาชีพในปัจจุบันจึงไม่ได้มุ่งเน้นเพียงรายได้หลักเพียง    อย่างเดียว การสนับสนุนให้ประชาชนโดยทั่วไปมีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มพูนรายได้ ตลอดจนการพึ่งพาตนเอง  โดยใช้หลักการและปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง ” ซึ่งมีความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และส่งเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการที่มุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่มีความเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพที่ดี เช่นนโยบายแนวทาง 6 อ. ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์แจ่มใส อนามัยสิ่งแวดล้อม และอโรคยา ดังเช่นประโยคทองที่ว่า “สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องทำเอง” เชื่อแน่ว่าประโยคทองของการรณรงค์ส่งเสริมการออกกำลังกาย ประโยคนี้ย่อมไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยได้ยิน เพียงแต่จะได้นำเอาไปปฏิบัติหรือไม่นั้น เป็นสิ่งที่แล้วแต่พฤติกรรมส่วนบุคคล แนวทางปฏิบัติการดำเนินงานตามหลัก 6 อ. ประกอบด้วย 1. ออกกำลังกาย โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของร่างกาย แต่ละคน 2. อาหารปลอดภัย การปฏิบัติตนที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในแต่ละวันให้ครบ 5 หมู่ 3. อารมณ์แจ่มใส การปฏิบัติตนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ ซึ่งอาศัยการฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ 4. อนามัยสิ่งแวดล้อม หมายถึง การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งด้ายกายภาพ ที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมต่อการดูแลใช้ชีวิตประจำวันให้ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพ ถูกสุขลักษณะ 5. อโรคยา หมายถึง การไม่มีโรคการปฏิบัติตนเพื่อไม่ให้เจ็บป่วย ห่างไกลโรคต่างๆ สามารถทำได้จากการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค 6. อบายมุข หมายถึงหนทางที่นำไปสู่ความเสื่อมเสีย การดื่มน้ำเมา การเที่ยวการคืน การพนัน เป็นต้น จะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมายในการดำเนินชีวิต

ดังนั้นชมรมผู้สูงอายุหน้าค่ายรามคำแหง จึงได้จัดทำโครงการ ส่งเสริมสนับสนุน การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมแก่ผู้สูงวัยในชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้าน 6 อ. ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์แจ่มใส อนามัยสิ่งแวดล้อม และ อโรคยา มาใช้ในการกำกับดูแล


ผู้สูงอายุในชุมชน และประชาชนในพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงอย่างมีเหตุผลเป็นการลดรายจ่ายเสริมรายได้ให้กับครอบครัว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุ และประชาชนในชุมชนได้รับความรู้แบบองค์รวม และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งร่างกาย และจิตใจ

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องในการดูแลสุขภาพ และเสริมสร้างร่างกายที่แข็งแรงให้ผู้สูงอายุ
และประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00
2 2. เพื่อให้การดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุมีความต่อเนื่องและยั่งยืนรวมถึงประชาชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2.กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจ ผู้สูงอายุและประชาชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชมรมผู้สูงอายุทุก 2 เดือน(20 เม.ย. 2566-31 ส.ค. 2566) 9,200.00            
2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชมรมอื่นๆ(20 เม.ย. 2566-31 ส.ค. 2566) 7,500.00            
รวม 16,700.00
1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชมรมผู้สูงอายุทุก 2 เดือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 9,200.00 0 0.00
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าอาหารว่าง – เครื่องดื่ม 40 3,600.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าวิทยากร 0 3,600.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าวัสดุ 0 2,000.00 -
2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชมรมอื่นๆ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 7,500.00 0 0.00
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าอาหารว่าง – เครื่องดื่ม 40 2,400.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าอาหารกลางวัน 40 2,400.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 - ค่าวิทยากร 0 2,400.00 -
20 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ค่าจัดทำเอกสารรูปเล่ม 0 300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุ และประชาชนในชุมชนได้รับความรู้แบบองค์รวม และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งร่างกาย และจิตใจ
    1. ผู้สูงอายุ และประชาชนมีอาชีพเสริม สร้างรายได้สู่ครัวเรือน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
    2. ชมรมผู้สูงอายุมีการดำเนินงานที่เข้มแข็ง สร้างความผูกพันระหว่างสมาชิกในชมรมได้ รวมถึงประชาชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2566 16:17 น.