กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยง ปี 2560
รหัสโครงการ 004/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอน
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนิลประดับอินทศรีมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.786,101.482place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำหรับประเทศไทยเอง สถิติล่าสุดพบว่ามีถึง 14 ล้านคนที่เป็นโรค ในกลุ่มโรค NCDs และที่สำคัญยังถือเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตของ ประชากรทั้งประเทศ โดยจากสถิติปี พ.ศ. 2552 พบว่า มีประชากรเสีย ชีวิต จากกลุ่มโรค NCDs มากกว่า 300,000 คน หรือ คิดเป็น 73% ของการเสียชีวิต ของประชากรไทยทั้งหมดในปี 2552 คิดเป็นมูลค่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 200,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งสถิติการ เสียชีวิตดังกล่าวยังแสดงว่าประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตมากกว่าค่าเฉลี่ย ของทั้งโลกและมีแนวโน้มจะสูงขึ้น เรื่อยๆ ในอนาคต
ความดันโลหิตสูงนับเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งในปี 2559 ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอน พบผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ 8 คน ลดลงจากปี 2558 ร้อยละ 50 เดิมมีผู้ป่วยโรคความดัน จำนวน 292 รายโรคเบาหวานรายใหม่ ปี 2559 จำนวน 4 คนเดิมมีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 80คน จากจำนวนการคัดกรองผู้มีอายุ 35 ปีขึ้นไปเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยตำบลดอน พบว่าผู้มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,319 คน พบผู้มีภาวะเสี่ยงสูง ปานกลาง โรคเบาหวาน จำนวน212 คนคิดเป็นร้อยละ 18.37กลุ่มเสี่ยงโรคความดันจำนวน 610 คน คิดเป็นร้อยละ 46.25ในกลุ่มประชากรทีมีภาวะเสี่ยงสูงปานกลาง ถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอาจพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้ในอนาคตอีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทำให้เป็นภาระต่อสังคมเศรษฐกิจและครอบครัวที่ต้องทำหน้าที่ดูแลส่วนปัจจัยด้านอื่นๆที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ก็คือพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดามีภาวะความดันโลหิตสูงก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่บิดามารดามีภาวะความดันโลหิตปกติส่วนในเรื่องปัจจัยแวดล้อมเช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูบบุหรี่จัดดื่มสุราจัดการรับประทานอาหาร หวาน มัน เค็ม มากจนเกินไป ไม่มีการออกกำลังกายทำให้มีระดับไขมันในเลือดสูง และมีความเครียดก็มีผลทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงเช่นกัน การแสดงอาการเนื่องจากความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงจะค่อยสูงขึ้นและร่างกายก็ค่อยๆปรับตัวให้เข้ากับภาวะความดันโลหิตที่สูงขึ้นส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการใดๆ ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ค่อยทราบหากไม่ ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตยกเว้นในรายที่มีอาการสูงมากอาจมีอาการปวดตึงท้ายทอยหรือปวดศีรษะรุนแรงเนื่องจากคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้ตัวดังนั้นโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงก็มีมากตามไปด้วย โดยทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ ไต ตา และสมองและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ดังนั้นจึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูงว่าเป็น “ภัยเงียบ” หรือ “ฆาตกรเงียบ” นั่นเอง
ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูงกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลดอนโดยความร่วมมือของกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลดอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีสุขภาพที่ดีมีความรู้ในการดูแลตนเอง ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนและการสูญเสียของประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1.ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯ 2.เสนอโครงการเพื่อให้ประธานอนุมัติ 3.ประสานวิทยากรและสถานที่ฝึกอบรม 4.จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและตรวจสุขภาพซักประวัติชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงวัดความดันโลหิต 5.ตรวจคัดกรอง ประชาชน อายุ ตั้งแต่ 35 ปี ขึ้นไป ที่ไม่เป็นโรคความดัน – เบาหวาน
6.ติดตามตรวจคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงจำนวน 60 คน ทุก ๆ 3 เดือน จำนวน 2 ครั้ง 7.ประเมินผลโครงการ ดังนี้ 7.1 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้เข้าอบรมประเมินจากผลการตรวจสุขภาพ ครั้งที่ 2

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง 2.ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน 3.เกิดเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน ของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ 4.จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ลดลง จากปี 2559 ร้อยละ 70
5.ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ได้รวดเร็ว และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดัน เบาหวานได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2559 14:34 น.