กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รหัสโครงการ 66-L5214-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าไทร
วันที่อนุมัติ 20 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 8,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุกัญญา บูรณะศิลป์
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.163,100.542place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม จะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้ การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้ หลัก 3อ. 2ส. เช่นลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำ จิตใจให้สงบ ลด ละ เลิก บุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากฐานข้อมูล Health Data Center (HDC) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ปีงบ 2566 พบ ประชาชนป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าไทร จำนวน 403 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.8 จากประชากรทั้งหมด ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 192 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 จากประชากรทั้งหมด และจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไทร ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2566 พบว่า ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ปี 2566 ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง 926 คน พบเสี่ยง (ระดับความดันโลหิต SBP 121-139 mmHg หรือ DBP 81-89 mmHg) จำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 11.1 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบเสี่ยงสูง/สงสัยป่วย (ระดับความดันโลหิต SBP>=140 mmHg หรือ DBP >=90 mmHg) จำนวน 42 คน คิดเป็น ร้อยละ 4.5 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง และได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน 1,132 คน พบเสี่ยง (ระดับน้ำตาลในเลือด 101-125 mg/dl) จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 8 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบเสี่ยงสูง/สงสัยป่วย (ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 125 mg/dl) จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 0.70 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง จากข้อมูลการสำรวจ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อที่สำคัญของประชาชนในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อายุ 15 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าไทร ตำบลเกาะยอ พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ชอบรสหวาน มัน เค็มและขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวโดยการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่ไม่เสี่ยงต่อสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าไทร ได้ตระหนักถึงการเปิดโอก่สในการสร้างสุขภาวะของประชาชน ในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรค ด้วย 3อ. 2ส. ปีงบประมาณ 2566 โดยดำเนินการในหมู่ที่ 9 บ้านสวนใหม่ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีเป้าหมาย สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 3อ. 2ส. อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนฯ มีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

80.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที 3-5 วัน/สัปดาห์ ลดอาหารประเภทไขมัน โซเดียม และอาหารรสหวาน และเพิ่การกินผัก ผลไม้สด

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที 3-5 วัน/สัปดาห์ ลดอาหารประเภทไขมัน โซเดียม และอาหารรสหวาน และเพิ่การกินผัก ผลไม้สด

80.00
3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค

สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน และ 3อ. 2ส.(24 เม.ย. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00            
2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายในชุมชน(24 เม.ย. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00            
รวม 0.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน และ 3อ. 2ส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกายในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้านปรับเปลี่ยนฯ มีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 2.บ้านสวนใหม่ หมู่ที่ 9 ตำบลเกาะยอ เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การออกกำลังกาย สม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที 3-5 วัน/สัปดาห์ ลดอาหารประเภทไขมัน โซเดียมและอาหารรสหวาน และเพิ่มการ "กินผัก ผลไม้สด" 3.ภาคีเครือข่ายและประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรค มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพ และเกิดกระแสสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2566 12:52 น.