กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัย ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลห้วยยอด
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 17,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทัศนีย์ หอยสังข์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุภารัตน์ ภักดี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.776,99.632place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 125 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามนโยบายของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในเรื่อง อาหารสะอาด รสชาตอร่อย (Clean Food Good Taste) มาโดยตลอดเพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิตหลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วยคือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน เพราะประชาชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้ประกอบกิจการที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร ผู้สัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในระหว่างการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคลงสู่อาหารได้ ในปัจจุบันการบริโภคอาหารของประชาชนส่วนใหญ่จะพึ่งอาหารนอกบ้านซึ่งมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่ครบตามความต้องการของร่างกายหรือได้รับสารอาหารอย่างหนึ่งอย่างใดมากเกินไป เช่น มีการปนเปื้อนจากภาชนะบรรจุอาหารเอง อันตรายที่เกิดจากสารเคมีของภาชนะบรรจุอาหารมักไม่ได้รับความสนใจ เนื่องจากไม่ได้เกิดผลกระทบในทันที่ทันใด แต่จะค่อย ๆ สะสมในร่างกายจนเกิดอันตรายนอกจากนี้ภาชนะบรรจุต้องมีคุณสมบัติ คือ ต้องเป็นภาชนะ มีคุณภาพ สะอาด ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ไม่มีสี หรือโลหะหนักออกมาปนเปื้อนกับอาหารในปริมาณที่เปันอันตรายต่อสุขภาพได้ เป็นเวลานานแล้วที่พลาสติก และโฟม ถูกนำมาใช้แทนใบตอง กระดาษ โลหะหรือแก้วในการบรรจุอาหารอาจเนื่องมาจากพลาสติกและโฟมสามารถทำให้เกิดรูปทรงตามที่ต้องการได้ง่าย มีน้ำหนักเบา ราคาถูก และหาซื้อง่ายจึงเป็นที่นิยมเรื่อยมา กล่องโฟมที่มักถูกนำมาบรรจุอาหารที่ร้อน จะมีคุณสมบัติที่สามารถละลายสารบางชนิดออกมาจากกล่องโฟม และปนเปื้อนสู่อาหารได้ ปัจจุบันผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารนิยมใช้กล่องโฟมบรรจุอาหารกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากความสะดวก รวดเร็ว โดยในพื้นที่ รับผิดชอบของเทศบาลตำบลห้วยยอด เองก็มีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ยังนิยมใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร โดยขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่จะส่งผลต่อผู้บริโภค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลห้วยยอด จึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี เพื่อให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารได้มีความรู้ ตระหนักถึงความปลอดภัยของการบริโภคอาหารจากร้านจำหน่ายอาหารต่าง ๆ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรค และส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีปราศจากโรคที่มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหาร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. 1.เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร ลด ละ เลิก การใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร จำหน่ายอาหารเลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและรักษ์สิ่งแวดล้อม ทดแทนการใช้โฟม 2. 2. ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร แผงลอย และแกนนำ อสม. ฯ มีความรู้ความเข้าใจในด้านงานสุขาภิบาลมากยิ่งขึ้น

1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอรบรม เลือกใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและรักษ์สิ่งแวดล้อม ทดแทนการใช้โฟม


1. 2.ร้อยละ ๘๐ ของผู้ประกอบการจำหน่วยอาหาร
2. แผงลอย  ผู้ประกอบการร้านอาหารของโรงเรียนในเขตเทศบาล ฯ  และแกนนำ อสม.  ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ระดับ ดี ถึง ดีมาก หลังเข้ารับการอบรม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย และผู้ประกอบการร้านอาหารในโรงเรียนมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาปรับปรุงร้านอาหาร/แผงลอยของตนเองเพื่อให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน Clean Food Good Taste ๒. ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย และผู้ประกอบการร้านอาหารในโรงเรียนได้ทราบถึงอันตราย      จากการใช้ ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร สามารถนำภาชนะที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาใช้ทดแทนการใช้กล่องโฟม
๓. ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร ๔. อสม.ในเขตเทศบาล ฯ มีความรู้ความเข้าใจในด้านงานสุขาภิบาลมากยิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2566 11:06 น.