กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อย.น้อย ยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 66-L8429-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสิเกา
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 พฤษภาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิสุทธิ์ สุวรรณวร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 31 พ.ค. 2567 31 ก.ค. 2566 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันต้องตา หรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณา ตามสื่อประเภทต่างๆ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ อันตราย หรือความปลอดภัย สักเท่าไรพฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเกิดจาก หลายสาเหตุ ตัวอย่างเช่น วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นวิถีชีวิตแบบรีบเร่ง และเอาตัวรอดมากขึ้น มีสื่อประเภทต่างๆ เข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบัน เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคหลงเชื่อจนกระทั่งตัดสินใจเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งต่างจากในอดีตที่ประชาชนมักดำรงชีวิตแบบเอื้ออาทรกัน อีกทั้งด้านการผลิต ส่วนใหญ่มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบ และการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยกลวิธีต่างๆ ของผู้ผลิตยังไม่มากเช่นปัจจุบัน เยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนซึ่งมีอายุระหว่าง 7 – 12 ปี นับว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ กลุ่มเยาวชนกลุ่มดังกล่าวควรมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตออกมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างหลากหลาย รู้เท่าทันการโฆษณาที่เกินความจริง รู้วิธีตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และสามารถอ่าน และทำความเข้าใจข้อมูลโภชนาการจากฉลากผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปด้วย ซึ่งหากเยาวชนกลุ่มดังกล่าวมีความรู้และทักษะในการเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ จะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และลดปัญหาด้านสุขภาพหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ สามารถให้คำปรึกษาแก่บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลทั่วไปได้อย่างมั่นใจ
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสิเกา สนใจที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ อย.น้อย ยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ จัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคอาหารปลอดภัย มีทักษะในการตรวจหา ตรวจวิเคราะห์อาหาร หาสารบอแรกซ์ สารฟอกขาวและน้ำมันทอดซ้ำ สามารถเลือกซื้ออาหาร เลือกใช้ยาและเครื่องสำอาง ที่เป็นประโยชน์ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนแกนนำ อย.น้อย ได้รู้จักการทำงานเป็นทีม การวางแผนในการปฏิบัติงาน กล้าแสดงออกในการเผยแพร่ความรู้แก่นักเรียนเครือข่าย อย.น้อยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้งชมรม อย.น้อย ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสิเกาจำนวน 1 ชมรม

มีจัดตั้งชมรม อย.น้อย 1 ชมรม

100.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

70.00
3 เพื่อให้นักเรียน สามารถตรวจวิเคราะห์อาหาร อย่างน้อยในเรื่อง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาวและน้ำมันทอดซ้ำ

ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีทักษะในการใช้ชุดทดสอบสามารถตรวจวิเคราะห์อาหาร อย่างน้อยในเรื่อง สารบอแรกซ์ สารฟอกขาวและน้ำมันทอดซ้ำได้

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 10,000.00 1 10,000.00
28 มิ.ย. 66 - 31 ก.ค. 66 ปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคอาหาร และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ปลอดภัยแก่นักเรียน ชั้น ป.5 และ ป.6 โรงเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสิเกา 60 10,000.00 10,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสิเกา มีชมรม อย.น้อยที่ดำเนินกิจกรรม ด้านอาหารปลอดภัย
  2. นักเรียนที่ร่วมโครงการ มีความตระหนักเรื่องอาหารปลอดภัย เลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์ และอาหารได้อย่างเหมาะสม
  3. นักเรียนที่ร่วมโครงการ สามารถเผยแพร่ ความรู้แก่บุคคลอื่นได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2566 12:55 น.