กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ผู้สูงอายุห่างไกลโรคข้อเข้าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ปี 2560
รหัสโครงการ 002/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอน
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวไลลา แวอุมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.786,101.482place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ พบมากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม โรคจะดำเนินไปเรื่อยๆ อาจทำให้มีความเจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆ ก็ทำได้ไม่สะดวก จะมีความทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจหากประชาชนหรือผู้ที่เริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อมมีความรู้สามารถดูแลตนเองเพื่อชะลอความเสื่อม หรือบรรเทาอาการของข้อเข่าเสื่อม ก็จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว
พบว่าในปี ๒๕๔๙ ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมกว่า ๖ ล้านคน พบทั้งผู้สูงอายุและวัยกลางคนมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกทุกๆปี โดยในอดีตโรคข้อเข่าเสื่อม ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ แต่ทุกวันนี้พบในอายุน้อยลง ในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า ๔๕ ปี ผู้ชายจะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิง ในกลุ่มอายุมากกว่า ๔๕ ปี ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย และยังพบอีกว่าทั้งชายและหญิงที่มีอายุ ๗๕ ปีขึ้นไป จะป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าร้อยละ ๘๐-๙๐ นอกจากอายุจะเป็นปัจจัยที่สำคัญแล้ว ยังพบว่าอาชีพหรือการทำงานหนักก็เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมได้ง่าย ผลการคัดกรองข้อมูลผู้สูงอายุในประเทศไทยในปี ๒๕๕๗ พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ ๙๗.๔ภาวะโภชนาการร้อยละ ๑๐.๒โรคเบาหวานร้อยละ ๙.๔ โรคข้อเข่าเสื่อมร้อยละ๘.๗ โรคหัวใจแลหลอดเลือดร้อยละ ๖.๖ ตาต้อกระจกร้อยละ๕.๓ ตามลำดับสำหรับการรักษาแบบทางเลือก (Alternative Medicine) เช่น การฝังเข็ม การนวดกดจุด เป็นการรักษาเพื่อช่วยลดหรือบรรเทาอาการปวด ที่เป็นทางเลือกที่นอกเหนือจากการใช้ยา ซึ่งบางครั้งต้องใช้ผสมผสานกับการรักษาทางยาร่วม โดยผสมผสานกับการรักษาของแพทย์ในปัจจุบัน ด้วยภูมิปัญญาไทยนั้นรู้จักการใช้ความร้อนและสมุนไพรมาผสมผสานกันในการรักษาลดอาการปวดได้ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม อาการปวดเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเราผิดปกติ เนื่องจากการทำงานและการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกต้องฉะนั้นวิธีที่แก้อาการที่ถูกต้องก็ต้องรักษาที่ต้นเหตุ จึงจะทำให้อาการปวดหายได้ ส่วนการพอกด้วยสมุนไพรก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แพทย์แผนไทยนิยมใช้ในการรักษาโรคจับโปงเข่าหรือโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งโรคจับโปงเข่า จะมีอาการปวดมาก บวม แดง ร้อน ขณะที่บวมและอักเสบจะมีความร้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งการพอกด้วยสมุนไพร คือ การใช้สมุนไพรมาพอกเพื่อดูดพิษการอักเสบตามข้อต่างๆ ที่มีอาการปวด บวม แดง ร้อนซึ่งอาการเหล่านี้ที่กล่าวมา การนวดกดจุด การนวดราชสำนัก การประคบด้วยสมุนไพร จะเห็นผลการรักษาที่ดีขึ้นแต่จะเห็นผลที่เกิดได้ไม่ชัดเจนซึ่งการนวดรักษาจะลดการอักเสบที่เกิดในข้อเข่าได้ไม่เต็มที่ เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้ยาจากสูตรตำรับการพอกเข้ามามีบทบาทในการรักษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี มีผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบทั้งหมด ๕๖๕ (ข้อมูลการคัดกรองข้อเข่าเสื่อม ปี 2559) ได้คัดกรองผู้สูงอายุ 300 คน พบว่าผู้สูงอายุไม่ได้เป็นข้อเข่าเสื่อม 230 คน แต่เจอภาวะเสี่ยง 70 คนโดยพบว่าโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นหนึ่งในจำนวนหลายๆโรคที่ตรวจพบและจากการคัดกรองระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ดังนั้นงานแพทย์แผนไทยจึงมีแนวทางการรักษาแบบส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคข้อเข่าทั้งหมด ๗๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๓ จากสถิติของผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอน จึงทำให้เห็นความสำคัญของการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แผนไทยโดยวิธีการพอกเข่าด้วยสมุนไพร อีกทั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดข้อเข่า และการรับประทานยา ซึ่งการรับประทานยาจะทำให้มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นหลายด้าน อาทิ เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น จากข้อมูลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพของกลุ่มวัยผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุห่างไกลโรคเข่าเสื่อม เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมใช้สมุนไพรในการพึ่งตนเองได้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะข้อเข่าเสื่อม วิธีการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยตลอดจนการนำไปใช้อย่างเหมาะสม เพื่อลดปัญหาความเจ็บป่วยข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ตอบสนองนโยบายกรมพัฒนางานแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และนโยบายงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจังหวัด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม ๒. เพื่อลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ

๑. ร้อยละ ๙๐ ของผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม ๒. ร้อยละ ๖๐ ของผู้สูงอายุสามารถลดอาการปวดเข่าได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม ๒. เพื่อลดอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑. ประชุมกลุ่มคณะทำงานของ รพ.สต.ดอน ๒. คัดกรอง/ประเมินโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ๓. อบรมให้ความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ๔. ดูแลรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยโดยการพอกเข่า ๕. ติดตาม ประเมินผลหลังการรักษา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต:
1. ร้อยละ 9๐ ของผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม ๒. ร้อยละ ๖0 ของผู้สูงอายุสามารถลดอาการปวดเข่าได้

ผลลัพธ์ 1. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม 2. ผู้สูงอายุมีอาการปวดเข่าลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2559 14:37 น.