กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กลำใหม่ 3 ดี (โภชนาการดี พัฒนาการดี ฟันดี และวัคซีนตามเกณฑ์)
รหัสโครงการ 66-L4141-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 2 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 54,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดุษฎี ปาลกาลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.582062,101.19838place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในอนาคต เด็กที่มีคุณภาพ คือ เด็กที่มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ สังคม มีพัฒนาการสมวัย และสุขภาพช่องปากที่ดี หากเด็กไม่ได้รับการประเมินสุขภาพ ภาวะโภชนาการ พัฒนาการ และสุขภาพช่องปาก จะส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมและสติปัญญา ทั้งนี้รวมถึงการสร้างภูมิต้านทานโรคซึ่งเด็กทุกคนควรได้รับวัคซีนพื้นฐานครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลดอัตราป่วยและตายด้วยวัยที่ไม่สมควรเนื่องจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เพื่อที่เด็กจะได้มีประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างเต็มที่ ไม่เจ็บป่วยบ่อยหรือเป็นนาน บิดา มารดา และครอบครัว คือบุคคลที่มีบทบาท สำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก และสร้างเสริมประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่เด็ก หากบิดา มารดา และครอบครัว ขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก จะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของเด็กในอนาคต

จากสถานการณ์เด็กปฐมวัยในพื้นที่ตำบลลำใหม่ ในปี 2564 และ ปี 2565 ที่ผ่านมาพบว่าเด็กปฐมวัยได้รับการคัดกรองและสมวัยครั้งแรก ร้อยละ 78.8 และร้อยละ 71.24 สงสัยพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 10.43 และร้อยละ 23.10 ด้านโภชนาการมีภาวะสูงดีสมส่วนร้อยละ 74.73 และร้อยละ 62.50 ตามลำดับ ซึ่งเด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอจะมีผลกระทบต่อเด็กได้ ในด้านการดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กอายุ 0-3 ปีได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากในปี 2564 71 ราย พบฟันผุ 1 ราย และในปี 2565 ได้รับการตรวจ 28 ราย พบฟันผุ 2 ราย จะเห็นได้ว่าเด็กที่เข้ามารับบริการตรวจสุขภาพช่องปากลดลง แต่ มีฟันผุเพิ่มมากขึ้นจากผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ปี 2566 (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2566) ที่ผ่านมาพบว่าเด็กอายุครบ 1 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 52.83 % เด็กอายุครบ 2 ปีมีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 62.90 %เด็กอายุครบ 3 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 76.79 % และเด็กอายุครบ 5 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 68.63 % ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานครอบคลุมจึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งรัด ติดตาม ค้นหาเด็กตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับการฉีดวัคซีนทุกคนเพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุ 0-5 ปี ในอนาคตต่อไป

จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำการส่งเสริมสุขภาพของเด็กปฐมวัย เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย และให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ เพื่อให้เด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืน และที่สำคัญผู้ปกครองและอสม.ที่อยู่ในชุมชน จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการตรวจประเมินพัฒนาการด้วยตนเองเบื้องต้นได้ การเลือกอาหารที่เหมาะสมของเด็กปฐมวัย การส่งเสริมดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง เข้าใจและสามารถแนะนำการรับวัคซีนตามวัยได้ด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปีได้รับการคัดกรองพัฒนาการ โภชนาการ ตามวัย

ร้อยละ 90 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการ พัฒนาการ และการดูแลสุขภาพช่องปาก ของเด็กปฐมวัย

2 ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และอสม. มีทักษะความรู้เรื่องการดูแลช่องปากที่ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ร้อยละ 90 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถประเมินภาวะโภชนาการ ตรวจพัฒนาการตามวัย และแปรงฟัน ได้ถูกต้อง

3 เพื่อให้เด็กอายุ 0 – 5 ปีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์

ร้อยละ 90 เด็กอายุ 0 – 5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 54,600.00 0 0.00
15 พ.ค. 66 อบรมให้ความรู้และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ 30 54,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 100 ของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก และอสม.ได้รับการฝึกการทำความสะอาดช่องปาก และประเมินภาวะโภชนาการและการกระตุ้นพัฒนาการเบื้องต้น
  2. ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็ก 0-5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  3. ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก มีความตระหนักในการพาเด็กมารับบริการตรวจประเมินพัฒนาการ โภชนาการ ตรวจสุขภาพช่องปาก และฉีดวัคซีน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2566 11:41 น.