กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการส่งเสริมการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2566 ”
ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา



หัวหน้าโครงการ
นายดุษฎี ปาลกาลย์




ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2566

ที่อยู่ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 66-L4141-01-09 เลขที่ข้อตกลง 013/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2566 จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 66-L4141-01-09 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 37,600.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สุขภาพอนามัยของแม่ทั้งร่างกายและจิตใจมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ตลอดมาจนถึงระยะภายหลังคลอดภาวะหรือโรคหลายอย่างที่พบในแม่หรือเกิดในหญิงมีครรภ์จะกระทบกระเทือนและมีอันตรายต่อเด็กที่อยู่ในครรภ์ด้วยอีกทั้งการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการของเด็กทุกด้านตามวัย ทั้งทางร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญา มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กอายุ 0 – 5 ปีดังนั้นการจัดบริการ “อนามัยแม่และเด็ก” ที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพย่อมนำไปสู่การมีสุขภาพแข็งแรง ปลอดภัย ทั้งของมารดาและบุตร

จากผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพลำใหม่ปีงบประมาณ 2565 พบว่าอัตราการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ (เป้าหมาย ร้อยละ 75) ได้ร้อยละ 65.57 อัตราการได้รับการดูแลหลังคลอดครบ 3 ครั้ง (เป้าหมาย ร้อยละ 75) ร้อยละ 76.92 และร้อยละของเด็กแรกเกิด – ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว (เป้าหมาย ร้อยละ 50) ร้อยละ 59.57 จากข้อมูลดังกล่าวพบว่าจากการจัดโครงการส่งเสริมการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2565 ที่ผ่านมาทำให้งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ในส่วนอัตราการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ (เป้าหมาย ร้อยละ 75) ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่องและพัฒนาคุณภาพการบริการงานอนามัยแม่และเด็กให้ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ตามนโยบายแผนพัฒนางานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2566 ซึ่งมุ่งเน้นที่จะให้แม่เกิดรอด ลูกปลอดภัย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามี หญิงมีครรภ์ และหญิงหลังคลอด ได้รับความรู้ สามารถปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอดได้ถูกต้อง
  2. เพื่อส่งเสริมหญิงมีครรภ์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน
  3. ส่งเสริม อสม. ให้เป็นแกนนำในการกระตุ้นหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. หญิงมีครรภ์สามารถปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอดได้ถูกต้อง
  2. หญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมให้ความรู้และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

วันที่ 24 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.อบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามี หญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอด และ อสม. โดยจัดอบรมทั้งหมด 80 คนแบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 40 คน (แต่ละรุ่นประกอบด้วย หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามี หญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอด และ อสม.) 2.ให้ความรู้แก่อสม/แกนนำๆเรื่องการดูแลสุขภาพของมารดาและทารกตามเกณฑ์มาตรฐาน 3. จัดเวทีหญิงมีครรภ์ เพื่อค้นหาสาเหตุของการมารับบริการไม่ครบตามเกณฑ์ พร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติที่ถูกต้อง 4.ให้บริการฝากครรภ์และเจาะเลือดตามเกณฑ์แก่หญิงมีครรภ์รายใหม่ 5. ติดตามเยี่ยมบ้าน/ให้สุขศึกษาติดตามหญิงมีครรภ์ให้มารับบริการตามนัดโดย อสม. 6.ให้สุขศึกษาและส่งพบแพทย์ในรายที่พบภาวะผิดปกติ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2566 ในวันที่ 24 - 25 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำใหม่ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามี หญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอด และอสม. จำนวน 80 คน (2 รุ่น) เรื่องการดูแลครรภ์ในระยะเริ่มต้น การเปลี่ยนแปลงทางสรีระของมารดา ขั้นตอนการฝากครรภ์และการปฏิบัติตนในขณะ ตั้งครรภ์ การวางแผนครอบครัว การสังเกตภาวะปกติ/ผิดปกติที่พบได้ในทารก การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและอารมณ์ในระยะหลังคลอด วิธีการใช้สมุดสีชมพู และเทคนิคการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จ กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาด้านอนามัยแม่และเด็ก โดยวิทยากร นางรจรีย์ คล้ายฉิม ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และนางสาวยัสมิน ยูโซ๊ะ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการงานอนามัยแม่และเด็กให้ได้มาตรฐานสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ตามนโยบายแผนพัฒนางานสาธารณสุข จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2566 ซึ่งมุ่งเน้นที่จะให้แม่เกิดรอด ลูกปลอดภัยพร้อมให้ อสม.ติดตามให้มารับบริการตามนัดและติดตามเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าสาธารณสุข

 

80 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามี หญิงมีครรภ์ และหญิงหลังคลอด ได้รับความรู้ สามารถปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอดได้ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามี หญิงมีครรภ์ และหญิงหลังคลอด ได้รับความรู้ สามารถปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอดได้ถูกต้อง

 

2 เพื่อส่งเสริมหญิงมีครรภ์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 หญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน

 

3 ส่งเสริม อสม. ให้เป็นแกนนำในการกระตุ้นหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลครบตามเกณฑ์มาตรฐาน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 อสม. เป็นแกนนำในการกระตุ้นหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80 80
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อยู่กินกับสามี หญิงมีครรภ์ และหญิงหลังคลอด ได้รับความรู้ สามารถปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอดได้ถูกต้อง (2) เพื่อส่งเสริมหญิงมีครรภ์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน (3) ส่งเสริม อสม. ให้เป็นแกนนำในการกระตุ้นหญิงมีครรภ์ได้รับการดูแลครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมการฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพ ประจำปี 2566 จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 66-L4141-01-09

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายดุษฎี ปาลกาลย์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด