กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสื่อประชาสัมพันธ์เชิงรุก ร่วมกันรับมือโรคฉี่หนูในพื้นที่ตำบลท่าพญา
รหัสโครงการ 66-L1481-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่าพญา
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 2,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจรูญ นาคพล
พี่เลี้ยงโครงการ นายจรูญ นาคพล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าพญา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.354,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 59 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3218 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลระบุไว้ว่าในช่วงที่มีฝนตกหนัก ส่งผลให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วม และโรคสำคัญที่มากับน้ำท่วมที่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง คือ โรคฉี่หนู (Leptospirosis) โดยโรคฉี่หนู (Leptospirosis) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ ทั้งกับคนและสัตว์ เชื้อโรคนี้จะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ผิวหนังที่อ่อนนุ่มจากการแช่น้ำนาน หรือการรับประทานอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากฉี่หนูหรือสัตว์อื่นๆที่ติดเชื้อได้ อาการของโรคฉี่หนู คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว จะปวดมากที่น่องและโคนขา อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และตาแดง โดยสถานการณ์ของโรคฉี่หนูตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 5 กันยายน 2565 พบผู้ป่วยจำนวน 1,410 ราย เสียชีวิตจำนวน 9 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ อายุ 45-54 ปี รองลงมา อายุ35-44ปี และอายุ 55-64 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร โดยปี2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอปะเหลียน ระบุไว้ว่าอำเภอปะเหลียนพบผู้ป่วยโรคฉี่หนู จำนวนทั้งสิ้น 89 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 140.61 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย โดยในพื้นที่ตำบลท่าพญาพบผู้ป่วยจำนวน 4 ราย (หมู่2 จำนวน 1 ราย , หมู่ 4 จำนวน 3 ราย) ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต โดยผู้ป่วยทั้ง 4 ราย พบในช่วงเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีฝนตกชุก ดังนั้นเพื่อเป็นการรับมือโรคฉี่หนูที่อาจเกิดขึ้น ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในตำบลท่าพญา จึงต้องมีการร่วมกันเผยแพร่ความรู้วิธีการรับมือป้องกันในช่วงฤดูฝนตก เพื่อไม่ให้เกิดแหล่งรังโรคสำหรับแพร่เชื้อโรคฉี่หนูในบริเวณที่มีน้ำขังละแวกบ้าน โดยเน้นให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญ สามารถป้องกันและกำจัดแหล่งรังโรคได้ด้วยตนเอง จึงได้จัดทำโครงการสื่อประชาสัมพันธ์เชิงรุก ร่วมกันรับมือโรคฉี่หนูในพื้นที่ตำบลท่าพญา ปีงบประมาณ 2566 เพื่อเป็นการป้องกันและหยุดการระบาดของโรคในช่วงฤดูฝน และเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันควบคุมโรคในชุมชน และเป็นส่วนหนึ่งในการให้ความร่วมมือสนับสนุนป้องกันโรคติดต่อที่อาจจะเกิดขึ้นในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคฉี่หนู (Leptospirosis) ในพื้นที่ตำบลท่าพญา

อัตราป่วยโรคฉี่หนู (Leptospirosis)  ลดลงน้อยกว่าค่ามัธยฐาน5ปี ย้อนหลัง (2561-2565) ร้อยละ5

2 เพื่อให้ความรู้ประชาชนเรื่องโรคฉี่หนู (Leptospirosis) และวิธีการป้องกันตนเองจากโรคดังกล่าว

ประชาชนในพื้นที่ได้รับเอกสารเผยแพร่ความรู้ไม่น้อยกว่าร้อยละ90 ของจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สร้างทีมงานเป็นเครือข่าย ร่วมทำงานเป็นทีมเพื่อค้นหาปัญหา 2. นำเสนอปัญหาพร้อมเขียนโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าวและ อสม. ระยะดำเนินการ 1.ศึกษาพฤติกรรมคนในชุมชน/สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านที่ก่อให้เกิดแหล่งเพาะโรคฉี่หนู 2.ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหา 3.จัดทำแบบเสนอโครงการเพื่อของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ 4. ประชาสัมพันธ์/จัดทำและขออนุมัติโครงการ 5.ดำเนินกิจกรรมรณรงค์แจกเอกสารให้ความรู้ลักษณะอาการของโรค สาเหตุการติดเชื้อ และวิธีการป้องกันเรื่องโรคฉี่หนู 6. จัดทำทะเบียนข้อมูลหลังคาเรือนที่ได้ให้ความรู้เรื่องโรคฉี่หนู ระยะหลังดำเนินการ 1. ติดตามประเมินผล 2. สรุปผลการดำเนินงาน 3. ประเมินผล/สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถลดอัตราการป่วยจากโรคฉี่หนู (Leptospirosis) ในพื้นที่ตำบลท่าพญา 2.ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคฉี่หนู (Leptospirosis) สามารถป้องกันตนเองจากเรื่องโรคฉี่หนู (Leptospirosis) และกำจัดพาหะนำโรคได้ด้วยตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2566 09:36 น.