กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมความรู้เรื่องโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อตำบลวัดขนุน
รหัสโครงการ 66-L5270-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขนุน
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 42,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปัทมา ยอสินธุ์ นางสุมาวดี ณะไชยลักษณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.304,100.497place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 42,850.00
รวมงบประมาณ 42,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 115 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 4
ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้านนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไปมีทั้ง

โรคติดต่อทั้งอุบัติใหม่และเก่า โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป โรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนส่วนใหญ่กลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบา

หวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมสุขภาพที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน เน้นการสร้างสุขภาพ

และการป้องกันให้มากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริมและสนับสนุน การมีส่วนร่วมของประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของตนเองและชุมชนได้เอง เสริมสร้าง

และพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิง

รุก พัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม ที่ใช้ความรู้นำมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้

ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน การพัฒนาศักยภาพเพิ่มพูนความรู้ทักษะวิชาการ และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะของประชาชน จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ทาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขนุน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมความรู้เรื่องโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อตำบลวัดขนุน เพื่อพัฒนาศักยภาพ

ประชาชน แกนนำสุขภาพขึ้นมา อันจะช่วยส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมสาธารณสุขต่างๆ ในระดับพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้ทราบบทบาทหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวในเรื่องโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ

ประชาชนทราบบทบาทหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวในเรื่องโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ

2 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นของประชาชนในการดูแลสุขภาพ

ประชาชนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลสุขภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 115 42,850.00 0 0.00
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้/ฝึกปฏิบัติ 115 42,850.00 -

1.รวบรวมและวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน เพื่อคืนข้อมูลการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ปัญหา/อุปสรรค ในปีที่ผ่านมา เพื่อวางแผนและกำหนดทิศทาง

แก้ไขปัญหา

2.ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ รพ.สต.และอสม.

3.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ

4.แต่งตั้งคณะทำงาน/ประชุมคณะทำงาน เพื่อกำหนดวิธีดำเนินการและเนื้อหาการอบรม

5.ประสานกลุ่มเป้าหมายประชาชน เข้ารับการอบรม

6.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ต่างๆ ในการจัดกิจกรรมให้พร้อมดำเนินงาน

7.ดำเนินการอบรม

8.ประเมินผลการอบรม

9.สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการ

10.รายงานผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนทราบบทบาทและหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

2.ประชาชนมีความรู้ ทักษะที่จำเป็น ในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวอย่างเหมาะสม

3.เกิดผู้นำและเครือข่ายในการดูแลสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2566 13:56 น.