กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปิตูมุดีรวมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L3030-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธาณณสุขตำบลปิตูมุดี
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 16 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรูฮานี กาซอ กับ นางแสงดาว บระอาซัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบิตูมุดี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2565 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 39,414 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 59.14 ต่อแสนประชากร เสียชีวิตสะสม 27 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 0.07 ต่อแสนประชากร ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 15 ปี จำนวน 19 ราย อายุน้อยกว่า 15 ปี จำนวน 6 ราย ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ได้แก่ ภาวะอ้วน มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต เป็นต้น รวมทั้งการไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลช้า และได้รับยากลุ่มต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) จากคลินิกหรือร้านขายยา จากข้อมูลการกระจายของผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยมีการกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยในเขตพื้นที่ จังหวัดปัตตานี มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกมาก ซึ่งมีการกระจายตามพื้นที่ต่าง ๆ และประสบปัญหามาตลอด ทำให้จำนวนผู้ป่วยใน พ.ศ.2565 มีรายงานโรคไข้เลือดออกทั้งสิ้น 248 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 40.30 ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย และอำเภอยะรัง พบผู้ป่วยจำนวน 26 ราย อัตราป่วย 72.3 ต่อแสนประชากร โดยมีผู้ป่วยมากที่สุดอันดับต้น ๆ ของจังหวัดปัตตานี สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในตำบลปิตูมุดี พบผู้ป่วยจำนวน 4 ราย อัตราป่วย 64.51 ต่อแสนประชากร ปัจจุบันไข้เลือดออกมีวัคซีนสำหรับป้องกันแต่การนำมาใช้ยังมีข้อจำกัด ดังนั้นซึ่งหากฝนตกอาจทำให้เกิดน้ำขังตามภาชนะและวัสดุต่าง ๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายได้ ขอให้ชุมชนตระหนักมีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณบ้านและในชุมชน ตามมาตรการ "3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค" ดังนี้ 1. เก็บบ้านให้สะอาด เช่น พับเก็บเสื้อผ้าใส่ในตู้หรือแขวนให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2.เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บภาชนะใส่อาหารหรือน้ำดื่มที่ทิ้งไว้ใส่ถุงดำ และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3. เก็บน้ำภาชนะที่ใส่น้ำเพื่ออุปโภค บริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ และเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ ซึ่งจะสามารถป้องกันได้ 3 โรค คือ 1. โรคไข้เลือดออก 2. โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า และ 3. โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา นอกจากนี้ประชาชนสามารถป้องกันไม่ให้ยุงกัดได้ โดยสวมใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว ใช้สารไล่ยุงชนิดต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการเข้าถึงประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และชุมชน จึงได้จัดทำโครงการปิตูมุดีรวมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่1 อบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพของแกนนำชุมชน และผู้นำศาสนา ให้ความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย 0 12,350.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โดยแกนนำประจำครอบครัว และ อสม. 0 17,650.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.จำนวนอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 2.ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโณคไข้เลือดออก 3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน มัสยิด โรงเรียนให้น้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2566 00:00 น.