กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริม-ป้องกัน ติดตามทันตสุขภาพเด็ก 0-5 ปี เทศบาลเมืองปัตตานี (ประเภทที่1)
รหัสโครงการ 66-L7884-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวทิพย์มณี บุญไพฑูรย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุในเด็กเล็กมีสาเหตุสำคัญมาจากการได้รับเชื้อที่เป็นสาเหตุหลักของฝันผุ ในช่วงที่ฟันเริ่มขึ้นมาในช่องปากร่วมกับการที่เด็กินอาหารที่มีน้ำตาลสูง อละไม่ได้รับการแปรงฟัน การส่งเสริมสุขภาพและป้องกีนโรคฟันผุในเด็กเล็ก ทำได้โดยการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองให้เข้าใจถึงปัญหาสาเหตุของโรคตลอดจนถึงการป้องกัน ในปัจจุบันเด็กไทยมีฟันผุถึงร้อยละ 87.4 ในเด็กอายุ 5 ปี ฟันผุเกิดได้รวดเร็วและรุนแรงในช่วงอายุ 1-3 ปี เด็กที่มีฟันผุรุนแรงจะเลือกกินอาหารอ่อนที่ไม่ต้องเคี้ยว ทำให้เด็กไม่ได้รับอาหารที่ครบถ้วนตามวัย ส่งผลต่อการเจริญเติบโต การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กในช่วงวัยสำคัญที่สุดของชีวิต ฟันผุเป็นโรคติดเชื้อที่มักได้รับจากแม่หรือผู้เลี้ยงดูที่มีฟันผุร่วมกับการได้รับอาหารที่มีน้ำตาลเป็นจำนวนมาก และไม่ได้รับการแปรงฟัน การป้องกันสามารถทำได้ถ้าผู้เลี้ยงดูเด็กให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากกับเด็ก     ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน และทยอยขึ้นจนครบ 20 ซี่ เมื่อลูกอายุ 2-3 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ยังไม่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ด้วยตนเอง พ่อแม่ผู้ปกครองจึงมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ลูกสุขภาพฟันดีเราสามารถเริ่มแปรงฟันให้เด็กได้เมื่อฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นในช่องปาก โดยเริ่มด้วยการใช้ผ้านุ่มๆที่สะอาดชุบน้ำพอหมาดๆเช็ดฟันเพื่อฝึกให้เด็กคุ้นเคย หลังจากนั้นเมื่อฟัน 2 ซี่ล่างขึ้นเต็มซี่จึงเริ่มใช้แปรงสีฟันขนนุ่มแปรงได้ การแปรงฟันในเด็กอายุก่อน 1 ขวบ มักพบปัญหาว่าเด็กไม่ยอมอ้าปาก หรืออยู่นิ่งเพื่อให้แปรงฟันบางคนอาจร้องไห้หรือดิ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีผู้ช่วยจับเด็กอยู่นิ่งขณะแปรงฟัน หากจำเป็นต้องแปรงโดยไม่มีผู้ช่วยก็ควรแปรงฟันในท่าทางที่สามารถมองเห็นลูกได้ชัดเจน เช่น แม่นั่งบนเก้าอี้ยาว หรือบนพื้นให้ลูกนอนหงายเอาศรีษะหนุนตักแม่ ให้แม่และลูกหันหน้าไปทางเดียวกัน วิธีนี้จะทำให้เห็นฟันชัดเจนขึ้น และสามารถแปรงได้ทั่วถึง     ฟลูออไรด์จัดเป็นองค์ประกอบ 1 ใน 5 ที่สำคัญในการป้องกันฟันผุ ซึ่งได้แก่ การทำความสะอาดฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การใช้ฟลูออไรด์ การเคลือบหลุมร่องฟัน และการตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 6 เดือน ฟลูออไรด์เป็นเเร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุ มีผลในการป้องกันฟันผุได้ 2 วิธี คือ
    1.ผลเฉพาะที่ (Topical effect) คือการใช้ฟลูออไรด์สัมผัสผิวฟันโดยตรง ซึ่งสามารถทำได้โดยการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ การใช้น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์ การเคลือบฟลูออไรด์โดยทีนตบุคลากร การขัดฟันด้วยสารฟลูออไรด์     2.ผลทางระบบ (Systemic effect) คือการที่เด็กรับประทานฟลูออไรด์เข้าไป เพื่อมุ่งผลให้ฟลูออไรด์เข้าไปโครงสร้างของฟัน ขณะที่ฟันกำลังเจริญเติบโต ในรูปแบบของฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม นมผสมฟลูออไรด์ ยาเม็ดฟลูออไรด์ สำหรับเด็กการได้รับฟลูออไรด์เสริมที่ให้ผลเฉพาะที่สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น แต่สิ่งสำคัญการใช้ฟลูออไรด์เพียงอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันฟันผุได้ ดังนั้น เราจำเป็นต้องทำความสะอาดโดยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ลดอาหารเหนี่ยวติดฟัน ลดอาหารระหว่างมื้อ รวมไปถึงพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอทุก 6 เดือน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กเล็ก 0-5 ปี ในเขตพื้นที่ตำบลจะบังติกอได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 2.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กล็ก 0-5 ปี ได้รับความรู้้านการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กเล็ก 3.เพื่อให้ อสม ในพื้นที่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากเบื้องต้นแก่เด็ก 0-5 ปี

1.ร้อยละ 100 เด็กเล็ก 0-5 ปี ในเขตพื้นที่ตำบลจะบังติกอได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และทราบถึงปัญหาทันตสุขภาพ 2.ร้อยละ 100 ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กเล็กแต่ละช่วงวัย  3.ร้อยละ  100 อสม ในพื้นที่มีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากเบื้องต้นในเด็กเล็ก 0-5 ปี

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ 1.เตรียมขั้นอตน 1.1 สำรวจกลุ่มเป้าหมายเด็กเล็ก 0-5 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบตำบลจะบังติกอ และเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน 1.2 จัดทำแผนงานเพื่อให้อนุกรรมการกลั่นกรอง 1.3 เสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.4 วางแผนการดำเนินการ จัดเตรียมอุปกรณ์ 1.5 ประสาน อสม. ในเขตพื้นที่ตำบลจะบังติกอปละจัดเตรียมทะเบียนการให้บริการ 2.ขั้นดำเนินการ 2.1 ให้บริการการตรวจฟัน และส่งเสริมด้วยการทาฟลูออไรด์วานิชในคลินิกทันตกรรม และนัดให้บริการตรวจฟันต่อเนื่องทุกๆ 3-6 เดือน 2.2 ให้คำแนะนำในการดูแลทันตสุขภาพในเด็กแต่ละชาวงอายุแก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี พร้อมทั้งสาธิตการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กที่เข้ารับการตรวจฟันในคลินิกทันตกรรม 2.3 ลงพื้นที่ร้วมกับ อสม.ในชุมชน ติดตามให้บริการตรวจฟัน ให้ความรู้ด้านการดูปลทันตสุขภาพช่องปากของเด็กแต่ละช่วงวัยแก่ผู้ปกครองเด็ก พร้อมสาสาธิตการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับเด็กเล็กแต่ละช่วงวัยและส่งเสริมด้วยการทาฟลูออไรด์วานิช
2.4 บันทึกการให้บริการเพื่อใช้ติดตามผลการดูแลสุขภาพช่องปาก และเฝ้าระวังการเกิดฟันผุในระยะเริ่มแรก 2.5 จัดอบรมการดูปลสุขภาพช่องปากในเด็กเล็กให้แก่ อสม. ในเขตพื้นที่ตำบลจะบังติกอ พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติการตรวจฟันเบื้องต้นในเด็ก 0-5 ปี 3.ขั้นการติดตามและรายงานผล 3.1 ติดตาม/สรุปผลประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กเล็ก 0-5 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบตำบลจะบังติกอ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก 2.ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ได้รับความรู้ด้านทันตสุขภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเล็ก 3.เด็กเล็ก 0-5 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบตำบลจะบังติกอ มีสุขภาพช่องปากที่ดีสมวัย 4. อสม ในเขตพื้นที่จะบังติกอได้รับความรู้ด้านทันตสุขภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเล็กและตรวจฟันเด็กเล็กได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2566 08:48 น.