กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่น “กลองยาว”
รหัสโครงการ 66-L1490-03-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต เทศบาลตำบลโคกหล่อ
วันที่อนุมัติ 7 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2566 - 20 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 20 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 72,632.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภัชญา จันทร์เกิด
พี่เลี้ยงโครงการ พ.จ.อ.ไชยา สุทธิโภชน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานยาสูบ , แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่น "กลองยาว"
50.00
2 ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
50.00
3 ในพื้นที่ไม่มีการสร้างเสริมสุขภาพด้วยยาว
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพกายและสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ผู้ที่มีสุขภาพจิตย่อมมีสุขภาพกายที่ดีด้วยคำกล่าวที่ว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” นั่นความว่า จิตเป็นตัวกำหนดที่ทำหน้าที่ควบคุมและสั่งการทำงานของร่างกายทุกอย่าง ในด้านการรับรู้ ความรู้สึกนึกคิด การสั่งการของระบบประสาทต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น การพูด การเดิน การทำกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันเราก็จะพบว่ามีผู้กล่าวว่า “สุขภาพจิตที่ดี มักจะอยู่ในร่างกายสมบูรณ์” นั่นคือผู้ที่มีสุขภาพจิตดีย่อมส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพทางกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เจ็บป่วยง่ายหรือเกิดโรคทางกาย เช่น การปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องผูก เป็นต้น ปัจจุบันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา ประเพณี วัฒนธรรม เป็นต้น วิถีการดำเนินชีวิตของสังคมปัจจุบันจึงมีผลต่อทุกวัยเป็นอย่างมาก ในการปรับตัวให้ทันสมัย สถานการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน หากไม่ปรับตัวย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพทางจิตได้ และถ้าหากต้องเผชิญกับภาวะหรือสถานการณ์เช่นนี้เป็นเวลานานย่อมก่อให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมได้ ดังนั้น ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิต เทศบาลตำบลโคกหล่อ จึงเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของประชาชนในตำบลโคกหล่อ อีกทั้งอยากส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น “กลองยาว”ให้อยู่คู่ประชาชนคนไทยอีกทั้งเพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นให้แก่เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไป จึงขอเสนอโครงการสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่น “กลองยาว” เพื่อให้ประชาชนตำบลโคกหล่อได้มีกิจกรรมดีๆ ในการดูแลสุขกายและสุขภาพจิตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่น "กลองยาว"

ประชาชนในตำบลโคกหล่อมีมีการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม กลองยาวเพิ่มขึ้น

50.00 80.00
2 2. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

สมาชิกกลุ่มกลองยาวในตำบลโคกหล่อมีสุขภาพกายสุขภาพจิตดีขึ้น

20.00 50.00
3 3.เกิดกลุ่มชมรมกลองยาว

 

0.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 200 72,632.00 5 72,632.00
15 ส.ค. 66 - 11 ก.ย. 66 1.ประเมินสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เข้าร่วมโครงการฯ 50 1,000.00 1,000.00
15 ส.ค. 66 - 20 ก.ย. 66 2.กิจกรรมอบรม บรรยายให้ความรู้เรื่อง สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดีด้วยการออกกำลังกายด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่น "กลองยาว" 50 9,032.00 9,032.00
15 ส.ค. 66 - 20 ก.ย. 66 3.กิจกรรมจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมกลองยาว 50 35,000.00 35,000.00
15 ส.ค. 66 - 20 ก.ย. 66 4.กิจกรรมอบรมสร้างเสริมสุขภาพด้วยกลองยาว 50 27,000.00 27,000.00
15 ส.ค. 66 5.กิจกรรมรายงานผลการดำเนินงาน 0 600.00 600.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในตำบลโคกหล่อมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดียิ่งขึ้น
  2. ประชาชนในตำบลโคกหล่อได้อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น “กลองยาว”
  3. มีแหล่งการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น “กลองยาว” ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกหล่อ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2566 11:56 น.