กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนตำบลดอนพร้อมใจดูแลสุขภาพตามแนวทางแพทย์แผนไทย ปีงบประมาณ2566
รหัสโครงการ 66-L8419-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอน
วันที่อนุมัติ 10 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มีนาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 33,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวไลลา แวอุมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มผู้สูงอายุ 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นกลุ่มวัยผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพมากมายและส่วนใหญ่จะอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ไม่ค่อยดีต้องกินยาแก้ปวดเมื่อยเป็นประจำ ซึ่งทำให้ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยาแผนปัจจุบัน ประกอบการขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพโดยทั่วไปของผู้สูงอายุด้วยนอกเหนือจากกลุ่มวัยผู้สูงอายุแล้ว พบว่ากลุ่มวัยทำงานก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน อีกทั้งแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีปัญหาปวดเมื่อยกล้ามเนื้อถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม โรคจะดำเนินไปเรื่อยๆ อาจทำให้มีความเจ็บปวด กล้ามเนื้ออักเสบ เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆ ก็ทำได้ไม่สะดวก จะมีความทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจหากประชาชนหรือผู้ที่เริ่มมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมีความรู้สามารถดูแลตนเองเพื่อชะลอความเจ็บปวด ก็จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาวพ.ศ.ปี ๒๕65 ประเทศไทยมีผู้ป่วยอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อกว่า ๖ ล้านคน พบทั้งผู้สูงอายุและวัยทำงานมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกทุกๆปี
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนโดยงานแพทย์แผนไทย จึงมีแนวทางในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุและวัยกลางคนโดยการให้ความรู้การดูแลสุขภาพโดยเน้นการดูแลสุขภาพแบบแผนไทยมีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง มีการออกกำลังกายในรูปแบบที่เหมาะสม รวมทั้งให้มีการผลิตยาหม่องไพล ซึ่งใช้รักษาอาการปวดเมื่อย มาใช้ในชุมชนและหน่วยบริการอีกทั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแผนปัจจุบัน ที่ทำให้มีผลข้างเคียงเกิดขึ้นหลายด้าน อาทิ เช่น มีผลต่อไตโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพของกลุ่มวัยผู้สูงอายุและกลุ่มวัยทำงาน จึงได้จัดทำโครงการคนตำบลดอนพร้อมใจดูแลสุขภาพตามแนวทางแพทย์แผนไทยประจำปีงบประมาณ ๒๕๖6เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในเรื่องที่เกี่ยวกับปวดเมื่อยกล้ามเนื้อสามารถดูแลสุขภาพตนเองโดยแนวทางแพทย์แผนไทย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพโดยแนวทางแผนไทย

ร้อยละ ๙๐ ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ

0.00
2 2. เพื่อให้มีการผลิตยาสมุนไพรใช้ในชุมชนและหน่วยบริการ

ร้อยละ 50 ของผู้ที่มีอาการปวดเมื่อย ได้รับการรักษาโดยแนวทางแพทย์แผนไทย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 คนตำบลดอนพร้อมใจดูแลสุขภาพตามแนวทางแพทย์แผนไทย(10 มี.ค. 2566-29 ก.ย. 2566) 33,720.00              
รวม 33,720.00
1 คนตำบลดอนพร้อมใจดูแลสุขภาพตามแนวทางแพทย์แผนไทย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 33,720.00 0 0.00
10 มี.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 ๑. จัดประชุมให้ความรู้/สาธิตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพโดยแนวทางแพทย์แผนไทย จำนวน 1 ครั้ง (วัยสูงอายุและวัยกลางคนที่มีอาการปวดเมื่อยเป็นประจำ จำนวน 50 คน ผู้จัด 10 คน) 60 9,720.00 -
10 มี.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 2. ฝึกปฏิบัติการทำน้ำมันเหลืองไหล (วัยสูงอายุและวัยกลางคนที่มีอาการปวดเมื่อยเป็นประจำ จำนวน 50 คน ผู้จัด 10 คน) 60 24,000.00 -

๑. ประชาสัมพันธ์โครงการ/รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
๒. จัดประชุมให้ความรู้/สาธิตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพโดยแนวทางแพทย์แผนไทย ๓. ฝึกปฏิบัติการทำยาหม่องไพลเพื่อใช้ในชุมชนและหน่วยบริการสาธารณสุข       4. ให้ดูแลรักษาตามแนวทางการแพทย์แผนไทย
      ๕. ติดตาม ประเมินผลหลังการรักษา ๔. สรุปผลการดำเนินงาน กิจกรรมสำคัญ กลุ่มเป้าหมาย จำนวนเป้าหมาย สถานที่ดำเนินการ ระยะเวลา งบประมาณ (บาท) ผู้รับผิดชอบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพตามแนวทางแพทย์แผนไทย มีการผลิตยาสมุนไพรไว้ใช้และมีความพึงพอใจ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2566 00:00 น.