กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัคซีนขจัดโรคให้ลูกน้อยตำบลบาเจาะ ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2488-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 27 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพาอียะห์ สะตาปอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.514,101.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยการให้วัคซีนในเด็ก 0–5 ปี เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ เพราะเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ในอนาคต เด็กที่มีคุณภาพ คือ เด็กที่มีการเจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม มีพัฒนาการสมวัย หากเด็กไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับแต่ไม่ครบตามเกณฑ์ จะส่งผลทำให้เด็กมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งอาจเป็นโรคที่มีความรุนแรง เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือทำให้เกิดความพิการและเป็นอันตราย ถึงชีวิตได้ บิดามารดาและครอบครัว คือบุคคลที่มีบทบาทสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก และสร้างเสริมประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่เด็ก หากบิดามารดาและครอบครัว ขาดความรู้ความเข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของเด็ก กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดให้เด็กในแต่ละช่วงอายุควรได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ คือ เด็กอายุครบ 1 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 95 เด็กอายุครบ 2 ปี 3 ปี และ 5 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน โดยความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในแต่ละช่วงอายุต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ มาตรฐานร้อยละ 90
      จากผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลบาเจาะ ในปีงบประมาณ 25๖5 ที่ผ่านมาพบว่าเด็กอายุครบ 1 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 60.95 % เด็กอายุครบ 2 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 44.65 % เด็กอายุครบ 3 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 35.11 % และเด็กอายุครบ 5 ปี มีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน 45.74 % ณ.วันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 (อ้างอิงข้อมูลจาก โปรแกรม HDC สสจ.นราธิวาส) ไม่พบประชากรที่ป่วยด้วยโรคหัด โรค คอตีบ บาดทะยัก คางทูม ในประชากรอำเภอบาเจาะ (อ้างอิงข้อมูลจากโปรแกรมเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา 506) ณ.วันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 จากการวิเคราะห์สาเหตุที่เด็กได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องจากผู้ปกครองนำเด็กมาฉีดวัคซีนล่าช้ากว่ากำหนดจึงทำให้เข็มต่อไปล่าช้าไปด้วย ผู้ปกครองกลัวว่าเด็กจะเป็นไข้ ผู้ปกครองไม่มีเวลาเนื่องจากต้องทำงาน เด็กต้องตามผู้ปกครองไปทำงานต่างถิ่น/ต่างประเทศ เด็กไม่อยู่ในพื้นที่และไม่สามารถติดตามให้เด็กมารับบริการฉีดวัคซีนได้ เป็นต้น โดยเฉพาะหมู่ที่ 3 , 5 และ 7 ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่กว้างและประชากรมีจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นเขตพื้นที่เสี่ยงในการก่อความไม่สงบมากกว่าหมู่บ้าน จึงมีผลกระทบทำให้เด็กไม่มารับบริการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ แบ่งกลุ่มสีเขียว 23 % กลุ่มสีเหลือง 69 % และกลุ่มสีแดง 8 % จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต้องให้ความรู้ คำแนะนำ แก่บิดา มารดา และครอบครัวของเด็ก ให้เห็นถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีนตามวัย โดยการสำรวจข้อมูลประวัติการได้รับวัคซีนของเด็ก 0-5 ปี ที่มีอยู่จริงในเขตรับผิดชอบ และจัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในชุมชนพร้อมติดตามฉีดวัคซีนเชิงรุกในชุมชน ที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน ในเด็ก 0-5 ปี ชมรม อสม. ตำบลบาเจาะ จึงได้จัดทำโครงการวัคซีน ขจัดโรคให้ลูกน้อย เพื่อป้องกันการป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการวัคซีนในเด็กอายุ 0 – 5 ปี

-  ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 1 ปี  > ร้อยละ 95
-  ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 2    > ร้อยละ 90
-  ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 3 ปี  >  ร้อยละ 90
-  ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 5 ปี > ร้อยละ 90

2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างกำลังใจของภาคีเครือข่ายในการจัดการสุขภาพเด็ก 0 – 5 ปี แบบบูรณาการ
  • ร้อยละ 90 ของกลุ่มมารดาหลังคลอดเข้าร่วมกิจกรรม

  • อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการมากกว่าร้อยละ 85

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 ประชุมให้ความรู้การดูแลสุขภาพมารดาและทารกแก่กลุ่มหญิงหลังคลอด(1 มี.ค. 2566-31 พ.ค. 2566) 6,800.00                
2 ประชุมกลุ่ม อสม. ในการติดตามเด็กให้มารับบริการวัคซีนตามเกณฑ์กำหนด(1 มี.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 24,000.00                
3 มหกรรมตลาดนัดวัคซีน(9 พ.ค. 2566-9 พ.ค. 2566) 4,200.00                
รวม 35,000.00
1 ประชุมให้ความรู้การดูแลสุขภาพมารดาและทารกแก่กลุ่มหญิงหลังคลอด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 6,800.00 2 6,800.00
1 มี.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 ประชุมให้ความรู้การดูแลสุขภาพมารดาและทารกแก่กลุ่มหญิงหลังคลอด 40 6,800.00 6,800.00
19 ก.ย. 66 ประชุมให้ความรู้การดูแลสุขภาพมารดาและทารกแก่กลุ่มหญิงหลังคลอด 0 0.00 0.00
2 ประชุมกลุ่ม อสม. ในการติดตามเด็กให้มารับบริการวัคซีนตามเกณฑ์กำหนด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 24,000.00 2 24,000.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ประชุมกลุ่ม อสม. ในการติดตามเด็กให้มารับบริการวัคซีนตามเกณฑ์กำหนด 40 24,000.00 24,000.00
20 เม.ย. 66 - 7 ก.ย. 66 - 0 0.00 0.00
3 มหกรรมตลาดนัดวัคซีน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 4,200.00 2 4,200.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 มหกรรมตลาดนัดวัคซีน 70 4,200.00 4,200.00
5 ส.ค. 66 มหกรรมตลาดนัดวัคซีน 0 0.00 0.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 0.00
6 ก.พ. 67 - 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง

  2. ผู้รับบริการได้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม ทั่วถึงและเสมอภาค ตอบสนองต่อปัญหาความต้องการด้านสุขภาพได้ตามาตรฐาน

  3. ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2566 15:44 น.