กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดเพื่อร่วมขับเคลื่อนลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดทั่วประเทศ (ประเภทที่1)
รหัสโครงการ 66-L7884-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานส่งเสริมสุขภาพ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 47,545.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสนธยา ณ พัทลุง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปกติสตรีตั้งครรภ์จะคลอดที่อายุประมาณ 38-40 สัปดาห์ การคลอดก่อนกำหนด (preterm birth) หมายถึง การคลอดทารกออกมาก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์เต็ม โดยนับเริ่มต้นจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายก่อนตั้งครรภ์ หากทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีน้ำหนักที่น้อยกว่าปกติ น้ำหนักทารกปกติที่คลอดอายุครรภ์ 38-40 สัปดาห์จะอยู่ที่ประมาณ 2,500 - 3,000 กรัม ถ้าคลอดก่อน 37 สัปดาห์มักมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม เรียกว่า "ทารกน้ำหนักน้อย" ถ้าคลอดก่อน 30-32 สัปดาห์ น้ำหนักเฉลี่ยน้อยกว่า 1,500 กรัม เรียกว่า "ทารกน้ำหนักน้อยมาก" ทารกแรกเกิดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ที่เรียกว่าทารกคลอดก่อนกำหนด มีโอกาสเสียชีวิตและพบภาวะแทรกซ้อน ทำให้ทารกมีความพิการในช่วงหลังคลอด บางรายจะมีพัฒนาการล่าช้า หากทารกรายนั้นมีความพิการครอบครัวและภาครัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและดูแลรักษาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 4-5 ปี
    จากการทำวิจัยจากกองทุนทีปังกรนภัทรบุตร พบว่าประมาณร้อยละ 50-60 ของการคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นในสตรีที่ไม่มีโรค หรือ ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์บางคนเกิดจากพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์ก่อให้เกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเนื่องจากหญิงตั้งครรภ์ขาดความรู้เรื่องการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะคลอดก่อนกำหนดจึงเข้ารักษาล่าช้าเป็นเหตุให้การยั้บยั้งภาวะเจ็บคลอดก่อนกำหนดมักไม่ประสบผลสำเร็จ     จากข้อมูลการคลอดก่อนกำหนดในเขตเทศบาลมีหญิงตั้งครรภ์จำนวน 182 คน คลอดก่อนกำหนดจำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 14.83 การทำงานบูรณาการให้บรรลุผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมต่อระบบบริการช่วยเหลือดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้มีสุขภาพที่ดีตามแนวนทางโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดเพื่อร่วมขับเคลื่อนลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดทั่วประเทศ จึงได้ขับเคลื่อนความรู้ผ่านแคมเปญ " เรียนรู้ ร่วมแรง ร่วมใจ รณรงค์ ป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด" เพื่อส่งมอบไปให้แก่ประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน เพื่อนบ้าน สังคมและชุมชน เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์กับบุคคลใกล้ตัว จะสามารถตระหนักถึงอันตรายของภาวะคลอดก่อนกำหนดและตัดสินใจไปพบแพทย์โดยเร็ว ส่งผลให้สามารถรักษาภาวะคลอดก่อนกำหนดได่อย่างรวดเร็ว     งานส่งเสริมสุขภาพกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองปัตานีจึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด 2.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับบริการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (3 เดือน) 3.เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านสุขภาพชุมชนในการค้นหาและคัดกรอง ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ในชุมชน

1.ร้อยละ 50 จากอัตราคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ 2565 2.ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ตามเกณฑ์  3.ร้อยละ 100 ของแกนนำสุขภาพมีความรู้และแนะนำหญิงตั้งครรภ์ได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีการดำเนินการ 1.แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดเทศบาลเมืองปัตตานี 2.ประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงาน 3.จัดอบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และแกนนำด้านสุขภาพชุมชน 4.รณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะคลอดก่อนกำหนด   - เสียงตามสายในชุมชน   - จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 5.สำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ในเขตเทศบาล 6.ประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงวัยเจริญพันธ์เตรียมพร้อมก่อนการมีบุตรและปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ 2.แกนนำด้านสุขภาพชุมชนค้นหาและคัดกรอง ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ในชุมชนได้ 3.หญิงตั้งครรภ์เข้ารับบริการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2566 13:31 น.