กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ปี2566
รหัสโครงการ 66-L8305-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลรามัน
วันที่อนุมัติ 27 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 21,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสูบายด๊ะ ดูสิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กในประเทศไทย ยังเป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันแก้ไข ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลอนามัยแม่และเด็ก พบปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อสุขภาพของมารดาและเด็กอายุ 0-5 ปี ในหลายประเด็น ได้แก่ ปัญหาการขาดสารไอโอดีนและภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ (ไม่เกินร้อยละ 10) อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 8.7 (ไม่เกินร้อยละ 7) อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ขั้นต่ำ (ร้อยละ 14.5) ปัญหาเหล่านี้คือเป็นปัญหาของงานแม่และเด็กที่ต้องช่วยแก้ไข การส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก เป็นการดูแลสุขภาพให้แก่มารดาและทารกเริ่มตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์หลังคลอด ระยะให้นมบุตรและการบริบาลทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนวัยเรียน การดูแลสุขภาพแม่และเด็กให้มีคุณภาพ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ตั้งครรภ์ต้องรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้ทารกที่คลอดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม และจะต้องดูแลบุตรอย่างถูกต้อง เช่น การเลี้ยงดูทารกด้วยนมแม่ ส่งเสริมสายสัมพันธ์ระหว่างแม่และทารก ซึ่งเด็กที่ดื่มนมแม่จะมีค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญา (IQ) ที่ดี ส่งผลต่อการพัฒนาการของเด็กให้สมวัย และฉลาดมากขึ้น การสนับสนุนให้แม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ส่งผลให้มีน้ำนมแม่เพียงพอที่จะเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนการได้รับภูมิคุ้มกันโรคครบตามระยะเวลาที่เหมาะสม กลุ่มงานบริการปฐมภูมิแลองค์รวม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่และเด็กอันส่งผลให้เด็กเกิดมามีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์และเติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและบุตรได้มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ไม่ตายจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ 2.เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง/กลุ่มเสี่ยงต่อการคลอดบุตรน้ำหนักน้อย

1.อัตราหญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์  มีความรู้  ความเข้าใจ  และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและบุตรได้มาฝากครรภ์ร้อยละ80 2.ความสำเร็จอัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
ร้อยละ 70 2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการติดตามหญิงตั้งครรภ์/หญิงกลุ่มเสี่ยงร้อยละ80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดทำโครงการ ประชุมผู้ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ 2. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเมืองรามันห์อนุมัติ 3. ดำเนินการตามแผนงานโครงการ 3.1 สำรวจกลุ่มเป้าหมายโดยการดึงข้อมูลจาHDC และกลุ่มเป้าหมายการคัดกรองของอาสามัครสาธาณสุข
      3.2 ให้กลุ่มเป้าหมายทำแบบประเมิน ก่อนแลหลังการอบรม กิจกรรม 1.: สร้างกระแสการดูแลสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์ การตั้งครรภ์เมื่อพร้อม การฝากครรภ์เร็ว การดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงและการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีวิธีดำเนินการดังนี้             - อบรมแกนนำติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่       - กิจกรรมค้นหาหญิงตั้งครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ไวก่อน 12 สัปดาห์ ดูแลห่วงใย ใส่ใจสุขภาพมารดาและทารกโดยมีวิธีดำเนินการดังนี้ - เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพและอาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการออกสำรวจ ค้นหาและประเมินภาวะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ บันทึกลงในแบบสำรวจ เพื่อจัดทำทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ - เจ้าหน้าที่ร่วมกับ อสม.ติดตามเยี่ยมดูแลหญิงตั้งครรภ์ทุกไตรมาส ไปจนถึงระยะคลอดและหลังคลอดและทารกแรกเกิดตามกลุ่มเป้าหมาย - แนะนำอาหารเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ทุกราย และหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโภชนาการต่ำและซีดทุกเดือน - ประชุมสรุปการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ไวปัญหา,อุปสรรคและการแก้ปัญหาการปฏิบัติงาน         กิจกรรม 2.: - ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ / หญิงตั้งครรภ์ในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุตรจำนวน 100 คน วันที่..15 มิถุนายน 2566 โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลรามัน สถานที่ ห้องประชุมเทศบาลเมืองรามันห์ ตามเนื้อหาดังนี้
- ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจางกับการตั้งครรภ์ จำนวน 1 ชั่วโมง - การปฏิบัติตนขณะตั้งครรภ์ จำนวน 1 ชั่วโมง - ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 1 ชั่วโมง                 - ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่              จำนวน 1 ชั่วโมง                 - เจาะเลือดในหญิงวัยเจริญพันธ์ และหญิงตั้งครรภ์และจ่ายตามแนวทางที่มีภาวะโลหิตจาง                 - สาธิตอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้ 1. หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์มีความรู้สามารถดูแลตนเองและบุตรได้ร้อยละ 80
2. หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ 3. ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้จากการคลอดร้อย 0

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2566 15:58 น.