กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรค Metabolic ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ปี2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าช้าง
วันที่อนุมัติ 3 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิเชาว์ สุขกา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.04528215,100.3926905place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พฤติกรรมสุขภาพเป็นการแสดงออกของบุคคลในสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพของตนเอง โดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติตนทางด้านสุขภาพด้านต่าง ๆ คือ สุขภาพกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างสมดุล สาเหตุหลักของปัญหาสาธารณสุขโดยส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นจากบุคคลมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม  มากกว่าปัจจัยภายนอก เช่น พันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่ผลักดันให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพเสี่ยง (Health risk behavior) ของบุคคลจะเป็นดัชนีชี้วัดสถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มของปัญหาสาธารณสุขในอนาคต ในด้านอัตราการป่วย การตาย ภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ ภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน แต่บุคคลใดที่มีพฤติกรรมสอดคล้องกับดัชนีชี้วัดความเสี่ยง จึงเป็นบุคคลที่ควรระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ได้ออกคัดกรองพฤติกรรมสุขภาพและตรวจร่างกายตามแบบฟอร์ม Verbal screening ในกลุ่ม ประชาชนทั่วไป กลุ่มลูกจ้างประกันสังคม ข้าราชการและครอบครัว พบว่าส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่อภาวะMetabolic Syndrome คือรอบเอวมากกว่า 80 ซม ในเพศหญิง มากกว่า 90 ซม ในเพศชาย ค่าดัชนีมวลกายมากกว่าเกณฑ์ปกติ ภาวะไขมันในเลือดสูง ขาดการออกกำลังกาย ในผู้ชายพบว่ามีการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จึงควรได้รับการส่งเสริมป้องกันโรค คือ การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดโรคโดยเฉพาะโรคที่เกิดจากพฤติกรรมทางสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง ด้วยหลักการ 3 Self คือ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง (Self care) กำกับตนเอง (Self regulation) ให้มีสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่องได้ด้วยความเชื่อในความสามารถของตนเอง (Self efficacy) ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior modification) ทั้งกระบวนการปรับเปลี่ยนทางจิตและทางสภาพร่างกายหรือพฤติกรรมภายในและภายนอกเพื่อคงไว้ซึ่งพฤติกรรมสุขภาพที่ดีตามวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าช้างได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จึงได้จัดทำโครงการค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อกลุ่มโรค Metabolic ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในเรื่องโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง

ผู้เข้าร่วมโครงการมีผลการทดสอบความรู้หลังการเข้าร่วมอบรม เรื่องโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น

2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีค่าระดับความดันโลหิต และค่าน้ำตาลปลายนิ้วลดลง

กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีค่าระดับความดันโลหิต และค่าน้ำตาลปลายนิ้วลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดอบรมค่ายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางด้านสุขภาพโดยจัดให้มีกิจกรรมดังนี้ 1.1 รับสมัครกลุ่มเสี่ยงที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อลดรอบเอว และลดน้ำหนักโดยการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดเค็ม ลดมัน ออกกำลังกาย กินผัก พักผ่อนเพียงพอ 1.2 กิจกรรม walk really โดยสอดแทรก เนื้อหาการปฏิบัติที่ถูกต้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางด้านสุขภาพ 6 จุด 1.3 ทดสอบสมรรถภาพทางกาย 1.4 ให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง   1.5กิจกรรมนิทรรศการชุด “อาหารลดโรค ตามโรค ตามวัย”
2. จัดกิจกรรมลดความเสี่ยงโรคให้กับกลุ่มเสี่ยงหลังจากเข้าค่าย “99 วัน ไขมันสลาย”     2.1 ติดตามผลกิจกรรม เดือนละ1 ครั้ง ได้แก่ ผลความดันโลหิต ผลน้ำตาลในเลือด รอบเอว และน้ำหนัก     2.2ประกาศเกียรติคุณให้กับผู้ที่สามารถลดรอบเอว ลดน้ำหนัก ได้มากที่สุดภายในระยะเวลา 99 วัน
3.สรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีผลการทดสอบความรู้หลังการเข้าร่วมอบรม เรื่อง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีค่าระดับความดันโลหิต และค่าน้ำตาลปลายนิ้วลดลงร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2566 10:45 น.