กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก
รหัสโครงการ 66-L4153-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกายูบอเกาะ
วันที่อนุมัติ 11 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 มิถุนายน 2566 - 12 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 20,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะรูดิง หมานสนิท
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.476,101.413place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 พ.ค. 2566 12 พ.ค. 2566 20,600.00
รวมงบประมาณ 20,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 94 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 4 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยอายุที่พบบ่อยในเด็กอยู่ในช่วงอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี และในช่วงวัยรุ่นโดยเฉพาะในเพศหญิงที่เริ่มมีประจำเดือน โดยความชุกของภาวะนี้อยู่ระหว่างร้อยละ 5-30 ขึ้นกับช่วงอายุ และความแตกต่างของในแต่ละภาคของประเทศไทย โดยธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสีแดงเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ขนถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่สำคัญ ได้แก่ หัวใจ ปอด ตับ ไต กล้ามเนื้อ และสมอง
    ภาวะโลหิตจาง หมายถึงภาวะที่มีจำนวนของเม็ดเลือดแดงลดลง เด็กที่ขาดธาตุเหล็กจนถึงระดับที่ทำให้มีภาวะโลหิตจางจะเหนื่อยง่าย ทำกิจกรรมได้เชื่องช้ากว่าเด็กปกติ ส่งผลต่อความฉลาดของเด็ก เพราะเมื่อสมองได้รับออกซิเจนน้อยลง พัฒนาการในความคิดอ่านจะช้าลง การเจริญเติบโตและความตื่นตัวในการทำกิจวัตรต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันก็จะช้าลงด้วย ส่งผลต่อความสามารถในการเรียน การคิดคำนวณก็จะน้อยกว่าศักยภาพที่ควรจะทำได้ตามพันธุกรรม สาเหตุของการขาดธาตุเหล็กมักเกิดจากการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงไม่เพียงพอคือ เนื้อหมู เนื้อวัว ตับ เลือด ไข่แดง ผักใบเขียว มะเขือเทศ หรืออาจเกิดจากการมีพยาธิปากขอในลำไส้ ทำให้มีการสูญเสียเลือดจากทางเดินอาหารแบบเรื้อรัง หรือการสูญเสียเลือดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น เลือดกำเดาไหลบ่อย ประจำเดือนมามากในเด็กผู้หญิงวัยรุ่น เป็นต้น การรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กทำได้ไม่ยาก โดยการกินยาธาตุเหล็กในขนาดที่เหมาะสมตามแพทย์แนะนำเป็นเวลา 1-3 เดือน หรือจนกว่าระดับธาตุเหล็กในเลือดจะปกติและภาวะโลหิตจางหายขาด นอกจากนี้ยังต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารให้เหมาะสมและรักษาอาการเลือดออกเรื้อรังร่วมด้วยหากมีอาการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อคัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็กเล็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดอบต.กายูบอเกาะ 2 เพื่อติดตาม เฝ้าระวัง ประเมินสุขภาวะเด็กที่มีภาวะโลหิตจาง 3 เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการการเติบโตของเด็กให้สมวัย 4 เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองและเด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

1.จำนวนเด็กที่ได้รับการตรวจค้ดกรองภาวะโลหิตจางและส่งต่อเพื่อการรักษา

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
12 พ.ค. 66 อบรมให้ความรู้โรคโลหิตจาง 93 17,500.00 -
12 พ.ค. 66 ตรวจคัดกรองโลหิตจางในเด็ก 89 3,100.00 -
รวม 182 20,600.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ทำให้ผู้ปกครองทราบว่าเด็กอยู่ในภาวะโลหิตจางหรือไม่ 2 ผู้ปกครองเข้าใจโรคโลหิตจาง ผลกระทบที่จะเกิดจากภาวะโลหิตจางและสามารถป้องกันภาวะโลหิตจางที่จะเกิดกับเด็กได้ 3 ครูผู้ดูแลเด็กตระหนักถึงความสำคัญของการจัดอาหารที่มีประโยชน์เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางได้ 4 เด็กที่มีภาวะโลหิตจางได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง เหมาะสมจากหน่วยงานส่งต่อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2566 10:52 น.