กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการคัดแยกขยะอันตรายและขวดพลาสติกในชุมชน
รหัสโครงการ 66-L7579-10(1)-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปากพะยูน
วันที่อนุมัติ 10 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 32,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ พ.จ.อ.อรุณ คงชู
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.33,100.336place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นในชุมชนมากมาย ซึงปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม หนึ่งในนั้นคือการจัดการขยะ โดยทั่วไปประชาชนส่วนใหญ่จะเน้นการคัดแยกขยะประเภททั่วไปกับขยะอินทรีย์ แต่ปัญหาการจัดการขยะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนหากมีการกำจัดที่ผิดวิธีนั้นคือการจัดการขยะอันตราย ซึ่งขยะอันตรายเช่น หลอดไฟ กระป๋องสเปรย์ ถ่านไฟฉายและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เป็นต้น หากไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้แก่ อันตรายของสารปรอทจากหลอดไฟ หลอดนีออนจะทำให้ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย อันตรายของสารตะกั่วจากแบตเตอรี่ทำให้ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อันตรายจากส่วนผสมของสารแมงกานีสจากถ่านไฟฉายทำให้ง่วนนอน เกิดตะคริวที่แขน ขา สมองอักเสบ เป็นต้น การจัดการขยะอันตรายมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของขยะอันตรายที่เกิดขึ้น เพื่อให้การจัดการขยะอันตรายในชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เทศบาลตำบลปากพะยูนจึงได้จัดทำโครงการการคัดแยกขยะอันตรายและขวดพลาสติกในชุมชนขึ้น เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชนและส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความตระหนัก ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอันตรายจากครัวเรือน รวมทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพโดยให้มีการคัดแยกขยะอันตรายและขวดพลาสติกในชุมชน

ประชาชนให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือ คัดแยกขยะอันตรายและขวดพลาสติกก่อนทิ้ง  ช่วยกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพในชุมชน

1.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อลดอันตรายที่เกิดจากขยะอันตรายในชุมชน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยการจัดการและการกำจัดขยะอันตรายอย่างถูกวิธี

เทศบาลฯ มีการเก็บรวบรวมขยะอันตรายในชุมชนและนำส่งไปยังสถานที่รับกำจัดขยะอันตรายตามขั้นตอนและวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม

1.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อลดปริมาณขวดพลาสติก นำไปขายเป็นรายได้ของชุมชน

ชุมชนให้ความร่วมมือ และมีรายได้

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 การจัดให้มีตู้คัดแยกขยะ(13 พ.ย. 2566-13 พ.ย. 2566) 0.00          
รวม 0.00
1 การจัดให้มีตู้คัดแยกขยะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 32,500.00
2 พ.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 การจัดให้มีตู้สำหรับคัดแยกขยะและขวดพลาสติก 0 0.00 32,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถนำขยะอันตรายที่เกิดขึ้นในชุมชนไปกำจัดได้อย่างถูกวิธีและขายขวดพลาสติกเป็นรายได้ของชุมชน
  2. ประชาชนในชุมชนมีจิตสำนึกที่ดีในการคัดแยกขยะอันตรายและขวดพลาสติก
  3. ลดผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากขยะอันตรายในชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2566 14:19 น.