กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ลดภาวะแทรกซ้อน สู่การสร้างสุข ของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างยั่งยืน
รหัสโครงการ L3035-66-02-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลสะดาวา
วันที่อนุมัติ 10 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 28,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวนารง แปเฮาะอีเล.
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุดนิสา เจ๊ะอุบง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.821,101.311place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุ 12,116,199 คน คิดเป็น18.3% (ข้อมูลเมื่อวันที่31มกราคม 2565 จากกรมกิจการผู้สูงอายุ) ผู้สูงอายุในไม่ช้าก็จะเป็นสังคมผู้สูงอายุแบบเต็มรูปแบบ และส่วนใหญ่ของผู้สูงอายุจะเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ความดัน เบาหวาน ไต หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ เป็นต้น และส่วนหนึ่งจะมีความพิการภาวะแทรกของโรคดังกล่าว
    ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี มีจำนวนประชากรทั้งหมด 9,013 คน โดยในปี พ.ศ. 2565 มีผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะดาวา จำนวน 754 คน พบว่าผู้ป่วยติดบ้าน 61 คน ติดเตียง 5 คน ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคถุงลมโป่งพองและโรคความดันโลหิตสูง โรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น กระดูกหักหรือร้าว หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทและข้อเข่าเสื่อม พิการตั้งแต่กำเนิดการบาดเจ็บไขสันหลังและปัญหาการบาดเจ็บอื่นๆ จากอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคหรืออาการดังกล่าวทำให้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวและการดูแลรักษา เช่น ข้อต่อติดแข็ง กล้ามเนื้อฝ่อลีบและแผลกดทับ เป็นต้น โรค อาการและภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาในเรื่องกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อฝ่อลีบ ข้อต่อติดแข็ง ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันลดลง รวมไปถึงปัญหาคุณภาพชีวิตที่ลดลงไปด้วย ปัญหาสำคัญที่พบบ่อยของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ ได้แก่ ญาติหรือผู้ดูแลขาดความเข้าใจในเรื่องของการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วย ผู้ป่วยไม่สะดวกไปทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลจึงทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ขาดการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องและพบว่าการให้บริการสำหรับผู้สูงอายุส่วนมาก จะเป็นการบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขมากกว่าการให้บริการที่บ้าน การติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียงยังทำได้ไม่ครอบคลุมและขาดความต่อเนื่อง
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะดาวาและชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุและคนพิการอย่างเป็นระบบ โดยผู้ดูแลและชุมชนมีส่วนร่วม จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง จึงได้ดำเนินโครงการ “ลดการติดเตียง ด้วยโปรแกรมฟื้นฟู สู่การสร้างสุข ของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างยั่งยืน” ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะดาวา เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ญาติในการรับโปรแกรมฟื้นฟูผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อและเพิ่มการทำกิจวัตรประจำวันให้แก่ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง สู่การสร้างสุข ของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างทีมดูแลสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียงในชุมชน
  • เกิดทีมดูแลสุขภาพชุมชน จำนวน 40 คน
  • ร้อยละ 100 ของทีมดูแลสุขภาพชุมชนได้รับการฝึกอบรมโปรแกรมฟื้นฟูจากผู้เชียวชาญ
40.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้าน, ติดเตียง ได้รับการดูแลสุขภาพจากทีมดูแลสุขภาพชุมชนที่ได้รับการฝึกฝนที่ถูกต้องและต่อเนื่อง
  • ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยติดบ้าน,ติดเตียง ได้รับดูแลสุขภาพจากทีมดูแลสุขภาพที่ได้รับการฝึกฝนที่ถูกต้องและต่อเนื่อง
  • ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยติดบ้าน,ติดเตียงได้รับการเยี่ยมจากทีมดูแลสุขภาพชุมชน
58.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดทีมดูแลฟื้นฟูสุขภาพชุมชน ทีมดูแลฟื้นฟูสุขภาพชุมชนได้รับการฝึกอบรมโปรแกรมฟื้นฟู 2.ผู้ป่วยติดบ้าน, ติดเตียง ได้รับการดูแลฟื้นฟูสุขภาพด้วยโปรแกรมฟื้นฟูจากทีมดูแลฟื้นฟูสุขภาพชุมชนที่ถูกต้องและต่อเนื่อง มีอัตราผู้ป่วยติดเตียงลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2566 17:29 น.