กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้เท่าทัน รู้ป้องกัน หลอดเลือดสมอง ในเขตตำบลอาเนาะรูและตำบลสะบารัง ปีงบประมาณ 2566 (ประเภทที่1)
รหัสโครงการ 66-L7884-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปัตตานี
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 166,541.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารดา เจะสอเหาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ้เขตตำบลอาเนาะรูตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หน่วยบริการปฐมภูมิ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปัตตานี ทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ บริการส่งเสริม ป้องกันและควบคุมโรค ฟื้นฟูสุขภาพ และให้บริการรักษาโรคเบื้องต้นในเขตพื้นที่ ตำบลอาเนาะรู และตำบลสะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในปี 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนของตำบลอาเนาะรูและตำบลสะบารัง 996, 1,721 ราย ตามลำดับ พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถคุมระดับความดันโลหิตได้ดีของตำบลอาเนาะรู และตำบลสะบารัง คิดเป็นร้อยละ 37.05, 31.84 ตามลำดับ และจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนของตำบลอาเนาะรู และตำบลสะบารัง 439, 833 ราย ตามลำดับ พบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สามารถคุมระดับความดันโลหิตได้ดีของตำบลอาเนาะรู และตำบลสะบารัง คิดเป็นร้อยละ 27.56, 22.81 ตามลำดับ และผลการคัดกรองเพื่อประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองโรงพยาบาลปัตตานี ตำบลอาเนาะรู และตำบลสะบารัง ปี 2564 โดยใช้แนวทางการประเมินของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในกลุ่มประชากรเป้าหมายผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่ามีผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตใน 10 ปีข้างหน้าอยู่ในระดับความเสี่ยงต่ำ จำนวน 204, 302 ราย  คิดเป็นร้อยละ 84.65, 87.03 ตามลำดับ ระดับความเสี่ยงปานกลาง จำนวน 34, 40 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.11, 11.53 ตามลำดับ ระดับความเสี่ยงสูง จำนวน 3, 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.24, 1.44 ตามลำดับ (HDC : สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี) สถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งประเทศไทยคาดว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้น ในแต่ละปีโรคหัวใจและหลอดเลือดเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ เพศ และปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกาย อาหาร การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และเบาหวาน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงของแต่ละบุคคลในการนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด ในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งบุคคลที่มีหลายปัจจัยร่วมกันจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้าและเป็นภาวะวิกฤตของแต่ละบุคคล หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีและเหมาะสมอาจเกิดการสูญเสียชีวิต รวมทั้งเกิดความบกพร่องในการทำงานของอวัยวะที่สำคัญ ก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือฉุกเฉินที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่ง ได้แก่กลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดซึ่งกลุ่มโรคดังกล่าวมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อพิจารณาเป็นรายโรคและพบว่าสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดทั้งในเพศชายและเพศหญิงคือโรคหลอดเลือดสมองการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่จะก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ และมีความรู้ ความตระหนักในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม จึงมีความสำคัญมาก ดังนั้นทางกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลปัตตานีจึงจัดโครงการ รู้ทัน รู้เร็ว ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง 2 ตำบลในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจแก่กลุ่มเป้าหมาย (อสม.ผู้นำชุมชน) เป้าหมาย ทั้งหมด 2 โซน (ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองและศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองปากน้ำ โรงพยาบาลปัตตานี) จำนวน 550 ราย ประกอบด้วย ผู้ป่วย CVD risk ระดับความเสี่ยงต่ำ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จำนวน 220 ราย ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองปากน้ำจำนวน 330 ราย 2. เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายเสี่ยงปานกลาง และเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้รับการเยี่ยมบ้าน เป้าหมาย ทั้งหมด 2 โซน (ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองและศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองปากน้ำ โรงพยาบาลปัตตานี) ประกอบด้วย ผู้ป่วย CVD risk ระดับความเสี่ยงปานกลาง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จำนวน 25 ราย ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองปากน้ำจำนวน 45 ราย ๓.เพื่อประชาสัมพันธ์การรู้เท่าทันการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและหลอดหัวใจแก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบ เป้าหมาย ทั้งหมด 2 โซน (ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองและศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองปากน้ำ โรงพยาบาลปัตตานี) ประกอบด้วย ผู้ป่วย CVD risk ระดับความเสี่ยงสูง ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จำนวน 5 ราย ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองปากน้ำจำนวน 5 ราย

๑.ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง 2. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายเสี่ยงปานกลาง และเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้รับการเยี่ยมบ้าน
3. ร้อยละ 100 ของพื้นที่มีป้ายประชาสัมพันธ์ และแผ่นพับให้ความรู้แก่ประชาชนในเขตรับผิดชอบ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ 2.1 จัดทำแผนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 2.2 จัดประชุมคณะดำเนินการ และผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 10 ราย 2.3 จัดประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชน และภาคีเครือข่ายจำนวน 45 ราย เพื่อประสานกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมโครงการ โดยจำแนกกลุ่มผู้ป่วยดังนี้   กลุ่มที่ 1 CVD risk ระดับ 1 ความเสี่ยงต่ำ (ค่า CVD risk น้อยกว่า ร้อยละ 10)
  กลุ่มที่ 2 CVD risk ระดับ 2 ความเสี่ยงปานกลาง (ค่า CVD risk อยู่ระหว่าง ร้อยละ 10-30)   กลุ่มที่ 3 CVD risk ระดับ 3 ความเสี่ยงสูง (ค่า CVD risk มากกว่าร้อยละ 30) 2.4 ให้บริการตรวจสุขภาพใน Health station ชุมชนอาเนาะรูและสะบารัง ให้กับผู้ป่วย CVD risk ระดับ 1 ความเสี่ยงต่ำ จำนวน 550 คน ให้บริการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 3-4 ครั้ง/ราย ภายใน 3 เดือน วัดรอบเอว คำนวณ BMI ด้วยตัวเอง อสม และเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงในชุมชนอาเนาะรู และสะบารัง ประเมินความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ ให้ความรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยรับทราบภาวะสุขภาพ และความเสี่ยงของตนเอง
2.5 จัดอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับ โรคหลอดเลือดสมอง ภายใต้โครงการลดความเสี่ยง ลดโรค ห่างไกล โรคหลอดเลือดสมอง สำหรับ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางและระดับสูง จำนวน 80 ราย โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมอง  สำหรับกลุ่มเสี่ยงระดับปานกลาง และเสี่ยงสูง เพื่อให้มีความรอบรู้ในการเกิดภาวะแทรกซ้อนและสามารถดูแลตัวเองและผู้อื่นได้ 2.6 จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (DPAC) ณ ศูนย์แพทย์ชุมชนประจำเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยผู้รับผิดชอบงาน สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางและระดับเสี่ยงสูง จำนวน 80 ราย
2.7 ประเมินภาวะสุขภาพ ให้ความรู้ ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 3-4 ครั้ง/ราย ภายใน 3 เดือน สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางและระดับเสี่ยงสูง จำนวน 80 ราย ณ ศูนย์แพทย์ชุมชนประจำเขตพื้นที่รับผิดชอบ
2.8 ประชุมสรุป และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมมอบเกียรติบัตร สำหรับ ผู้ป่วยที่สามารถควบคุม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีที่สุดในระดับเสี่ยงปานกลาง และเสี่ยงสูง จำนวน 80 ราย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. กลุ่มเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองทุกระดับ มีความรู้ สามารถคัดกรองและเฝ้าระวังความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงได้ 2. กลุ่มเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มเสี่ยงปานกลางและสูง มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง 3. กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มเสี่ยงปานกลางและสูง เข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตัวเองเรื่องการจัดการอาหาร พฤติกรรมและการควบคุมโรคเพื่อไม่ให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2566 08:46 น.