กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L178-02-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านหนองยวน
วันที่อนุมัติ 2 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กุมภาพันธ์ 2566 - 1 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 20,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประคิ่น เพ็ชรย้อย
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละมอ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.597,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองยวน ตำบลละมอ มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก จากข้อมูล 3 ปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกดังนี้ ปี พ.ศ.2563 จำนวน 13 ราย พ.ศ.2564 จำนวน 2 ราย และ พ.ศ.2565 จำนวน 2 ราย ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม โดยต้องใช้หลักการควบคุมควบคู่กันไปทั้งด้าน กายภาพ ชีวภาพ และทางเคมี ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ปรพะชาชนองค์กรชุมชนให้มีส่วนร่วมอย่างจิงจังและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลง
2.มีภาคีเครือข่ายร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2566 10:20 น.