กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงสุขภาพประชาชนจากภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
รหัสโครงการ 66-L1521-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 16 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 9,258.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญศรี บัวขำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 พ.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 9,258.00
รวมงบประมาณ 9,258.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้ง มนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น จากสถานการณ์ประชาชนตำบลกะลาเส ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และยังพบว่าเกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากรูปแบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากการเกษตรทำเพื่อการบริโภคมาเป็นการเกษตรเศรษฐกิจ เกษตรกรต้องการเพิ่มผลผลิตและรักษาคุณภาพของสินค้า สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชชนิดออกาโนฟอสและคาร์บาร์เมทได้ถูกนำมาใช้ในแปลงผักและไร่นาของเกษตรกรอย่างแพร่หลาย ประกอบกับการขาดองค์ความรู้ในการใช้สารเคมีส่งผลให้เกิดสารพิษตกค้างในผัก และสะสมใน        ลำห้วย หนอง คลองบึง ฯลฯ การบริโภคผักและใช้แหล่งน้ำที่มีการสะสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทำให้ร่างกายที่ได้รับสารพิษมีอาการเฉียบพลัน อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง ตาพร่า หายใจติดขัด ฯลฯ    จากการเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลผลการตรวจเลือดประชาชนตำบลกะลาเส ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ในปี 2564 และ ๒๕65 พบว่าในปี 2564 พบกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 15.00 และในปี 2565 มีประชาชนกลุ่มที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยคิดเป็นร้อยละ 20.00ซึ่งมีแนวโน้มจะสูงขึ้นจากปีที่แล้วทั้งนี้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยเหล่านี้ ได้รับ          การส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยรางจืดเพื่อส่งเสริมสุขภาพและลดภาวะเสี่ยง ซึ่งจากข้อมูลพบว่าวิธีดังกล่าวได้ผลดี โดยทำให้กลุ่มเสี่ยงกลับไปเป็นกลุ่มปกติ ถึงร้อยละ ๙๓.๕ -๙๕.๐
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกษตรและประชาชนยังมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และส่งผลกระทบต่อสุขภาพ จึงต้องมีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน      จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองค้นหาความเสี่ยงสุขภาพประชาชนจากภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ขึ้น          เพื่อให้เกษตรกรและประชานชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อสร้างความรู้และความตระหนัก  เรื่องลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรองค้นหาระดับสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างในร่างกายโดยวิธี Reactive Paper test 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบภาวะเสี่ยง ในระดับ มีความเสี่ยงและ ระดับไม่ปลอดภัย ได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรไทย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 9,258.00 0 0.00
16 พ.ค. 66 จัดเตรียมข้อมูล ประสานงานผู้เกี่ยว ๑.จัดทำป้ายสื่อประชาสัมพันธ์ ๒.จัดประชุมให้ความรู้พิษภัยสารเคมี 3.กิจกรรมตรวจคัดกรองตรวจเลือดกลุ่มเป้าหมาย 4.ส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงทุกราย 5.ติดตามและเจาะเลือดซ้ำ 100 9,258.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้องปลอดภัยและมีความตระหนักเรื่องลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร

  2. ทำให้เกษตรกรได้ทราบสถานการณ์ความเสี่ยงสุขภาพจากสารเคมีตกค้างในร่างกายเพื่อกำหนดมาตรการส่งเสริมการลดผลกระทบจากโรคที่สืบเนื่องจากพิษสารเคมีกำจัดแมลงและสารเคมีกำจัดวัชพืช ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2566 09:30 น.