กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดยุงลายป้องกันภัยร้ายโรคไข้เลือดออก ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L2484-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลบางขุนทอง
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 8,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัมพรวิลันดาตำแหน่งอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2
พี่เลี้ยงโครงการ นายอายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.234,101.967place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 8,300.00
รวมงบประมาณ 8,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 22 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ และไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ตำบลบางขุนองเรื่อยมาและในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการเกิดโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์ตามข้อมูลหลักการระบาด คือ สถานที่ (Place) พบว่าจากอัตราป่วยตั้งแต่ ปี ๒๕๕6 – ๒๕60 ข้อมูล 5 ปีย้อนหลัง ปี 2556 ไม่พบผู้ป่วยปี 2557 พบผู้ป่วยจำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 288.18 ต่อแสนประชากร ปี 2558 พบผู้ป่วยจำนวน 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 96.06 ปี 2559 ไม่พบผู้ป่วย และ ปี 2560 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 192.12 ต่อแสนประชากร (ที่มา : ระบบสารสนเทศโรคที่ต้องเฝ้าระวัง จังหวัดนราธิวาส) ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง จะเห็นได้ว่าพบผู้ป่วยเกือบทุกปี การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน ตุลาคม– กุมภาพันธ์ ของทุกปีจะเกิดขึ้นได้ในชุมชน รวมถึงโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ประชาชนในชุมชนโรงเรียน ศาสนสถาน องค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมโดยให้คนในชุมชนได้เห็นความสำคัญถึงสภาพปัญหาและความร้ายแรงของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน

2 เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

มิกิจกรรมสำรวจลูกน้ำทุกบ้านอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง/หมู่

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดกิจกรรมสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกหมู่บ้านและทุกหน่วยงาน ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.บางขุนทอง ให้ความรู้แกนนำชุมชนและอสม. อสม.ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกพร้อมสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลุกน้ำยุงลายในเขตรับผิดชอบของตนเองสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 50 8,300.00 8,300.00
รวม 50 8,300.00 1 8,300.00

1) จัดกิจกรรมสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ทุกหมู่บ้านและทุกหน่วยงาน ในเขตพื้นที่ตำบลบางขุนทอง 2) กิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชนแกนนำชุมชน และ อสม. 3) อสม.ติดตามสถานการณ์โรคไข้เลือดออกพร้อมสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในเขตรับผิดชอบของตนเอง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง 4) ควบคุมการระบาดของโรคในผู้ป่วยโดยการแจกทรายอะเบทโลชั่นกันยุง และพ่นหมอกควัน 5) กิจกรรมให้ความรู้แก่ครูและนักเรียน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนของประชากร
  2. ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนัก เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดไข้เลือดออก
  3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ประชาชนสามารถทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน มัสยิด โรงเรียนให้น้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2560 10:49 น.