กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาคลินิกใกล้บ้าน ใกล้ใจของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 66-L8429-01-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสิเกา
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ว่าที่ร้อยตรีหญิงกนกกาญจน์ ช่วงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 มิ.ย. 2566 9 มิ.ย. 2566 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรถึง 41 ล้านคนทั่วโลก หรือคิดเป็นร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมด ถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 ปี 2562 พบว่า ความชุกโรคความดันโลหิตสูง เท่ากับร้อยละ 25.4 เท่ากับว่า 1 ใน 4 ของคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและในจำนวนนี้เกือบครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองป่วย ส่วนความชุกของโรคเบาหวาน เท่ากับร้อยละ 9.5 และ 1 ใน 3 ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวานมาก่อน การพัฒนาคุณภาพการบริการจึงเป็นอีกหนึ่งบทบาทที่จำเป็นในการดูแลและจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่สำคัญ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ลดโรค รวมถึงป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยให้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น (กรมควบคุมโรคไม่ติดต่อ)         สำหรับในปี 2563 - 2565 โดยในพื้นที่อำเภอสิเกา อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คิดเป็น 469.72 , 501.69 และ 509.86 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คิดเป็น 1,281.28 , 1,317.91 และ 1,6441.43 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้เข้าสู่กระบวนการดูแลรักษาแล้วสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มีแนวโน้มดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 53.78 , 54.84 และ 66.84 ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์มีแนวโน้มลดลง คิดเป็นร้อยละ 56.21 , 49.64 , 42.51 ตามลำดับ (ฐานข้อมูล ๔๓ แฟ้ม HDC จังหวัดตรัง)         ดังนั้นกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสิเกา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาคลินิกใกล้บ้าน ใกล้ใจของผู้ป่วยโรคเรื้อรังประจำปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการคลินิกใกล้-ใกล้ใจให้มาตรฐาน

ผู้ป่วยสามารถเข้าบริการคลินิกใกล้-ใกล้ใจได้ตามนัด

95.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) มีความรู้พฤติกรรมการบริโภคอาหาร

ผู้ป่วยมีความรู้พฤติกรรมการบริโภคอาหาร

95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
9 มิ.ย. 66 ประชุมให้ความรู้พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การลดหวาน มันเค็ม ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง” 80 20,000.00 20,000.00
รวม 80 20,000.00 1 20,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
  2. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้
  3. ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2566 10:35 น.