กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อิ่มสุข ปลุกอนาคตด้วยเกษตรพอเพียง หลีกเลี่ยงภาวะทุพโภชนาการ นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L3333-02-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านท่าเนียน
วันที่อนุมัติ 8 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุกัญญา เพ็งทิพย์นาง
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 6 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โครงการ อิ่มสุข ปลุกอนาคตด้วยเกษตรพอเพียง หลีกเลี่ยงภาวะทุพโภชนาการ นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน ปี 2566 หลักการและเหตุผล โครงการ อิ่มสุข ปลุกอนาคตด้วยเกษตรพอเพียง หลีกเลี่ยงภาวะทุพโภชนาการ นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน ปี 2566 ได้น้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้
บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลสำรวจภาวะโภชนาการใน "เด็กไทย" แบบเจาะลึก จากโครงการ SEANUTS II ชี้ "เด็กไทย" มีประเด็นทางสุขภาพที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ น้ำหนักเกินเกณฑ์และอ้วน ซึ่งพบในเด็กอายุ 7 – 12 ปี มากกว่า 30% ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีเผชิญกับภาวะโลหิตจางที่สูงถึง 50% การบริโภคอาหารและปริมาณพลังงาน-สารอาหารที่ได้รับในแต่ละวันที่ไม่สมดุล พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โควิด19ภาวะทุพโภชนาการในเด็กยังคงเป็นปัญหาหลักในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพของอาหารและโภชนาการเด็กที่ยังต้องปรับปรุง โดยปัจจุบัน "เด็กไทย" ช่วงอายุ 6 เดือน -12 ปี ทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ห่างไกล ยังคงเผชิญกับภาวะทุพโภชนาการหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการขาดสารอาหาร หรือมีอัตราน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โดยเฉพาะในเด็กอายุ 7-12 ปี ที่มีมากกว่า 30% ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ฯลฯ และยังพบว่า มีเด็กที่อายุ 6 เดือน – 12 ปี มากกว่า 70% ได้รับแคลเซียมไม่ถึงเกณฑ์ที่แนะนำสำหรับการบริโภคต่อวัน นอกจากนี้ จากการสำรวจพบภาวะโลหิตจางในเด็กกลุ่มที่อายุต่ำกว่า 4 ปี ของไทยที่สูงถึง 40% ซึ่งมากกว่าประเทศอื่นในกลุ่มดำเนินการสำรวจโดยภาวะดังกล่าวอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา การเจริญเติบโตของร่างกายและประสิทธิภาพในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ ขณะที่สัญญาณเบื้องต้นของปัญหาทุพโภชนาการอย่างภาวะเตี้ยแคระแกร็นในเด็กอายุ 0 – 5 ปี พบว่าลดลงจากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งในอดีตอยู่ที่ 10.6% แต่ปัจจุบันพบราว 4.6% และน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศที่ร่วมกันจัดทำการสำรวจ ดังนั้น จากเหตุผลความสำคัญ ดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนบ้านท่าเนียนจึงจัดทำโครงการอิ่มสุข ปลุกอนาคตด้วยเกษตรพอเพียง หลีกเลี่ยงภาวะทุพโภชนาการ นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน ปี 2566ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเนียน มีความรู้ในเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนและสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะทุพโภชนาการได้

ร้อยละ 80 ของคณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนได้รับความรู้จากการอบรมของวิทยากร เรื่องเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

0.00
2 เพื่อให้มีวัสดุ อุปกรณ์ เพียงพอต่อการดำเนินการเลี้ยงปลาดุกและเพาะเห็ด ปลูกพืชผักสวนครัว และผักไฮโดรโปนิกส์ไว้เป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

ร้อยละ 80 ของคณะครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนได้ใช้วัสดุอุปกรณ์ใน การดำเนินการเลี้ยงปลาดุก เพาะเห็ด ปลูกพืชผักสวนครัว และปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไว้เป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนได้อิ่มท้องในมื้ออาหารกลางวัน ด้วยผลผลิตจากเกษรตพอเพียง และปราศจากการเกิดภาวะทุพโภชนาการ

ร้อยละ 80 ของนักเรียนได้อิ่มท้องในมื้ออาหารกลางวัน ด้วยผลผลิตจากเกษรตพอเพียง และปราศจากการเกิดภาวะทุพโภชนาการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 13,000.00 0 0.00
17 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน 30 3,100.00 -
17 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการเลี้ยงปลาดุก เพาะเห็ด ปลูกพืชผักสวนครัว และปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ รายละเอียดดังนี้ 30 9,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนได้รับความรู้จากการอบรมจากวิทยากร เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน และมีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนและรู้จักเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์
  2. นักเรียนมีทักษะความรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงในการเลี้ยงปลาดุกและเพาะเห็ด ปลูกพืชผักสวนครัวและปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
  3. นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงและยังสามารถเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ปกครองและบุคคลในครอบครัวได้
  4. นักเรียนทุกคนมีสุขร่างกายแข็งแรงปราศจากการเกิดภาวะทุพโภชนาการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2566 10:48 น.