โครงการแรงงานนอกระบบปลอดภัย ภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี (ประเภทที่1)
ชื่อโครงการ | โครงการแรงงานนอกระบบปลอดภัย ภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี (ประเภทที่1) |
รหัสโครงการ | 66-L7884-1-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลปัตตานี |
วันที่อนุมัติ | 28 เมษายน 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 14,080.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางน้ำฝน พรหมเลข |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
แรงงานนอกระบบ หมายถึง ผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน จาการสำรวจแรงงานนอกระบบ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2565) พบว่าแรงงานนอกระบบประสบปัญหาดังนี้ 1) ปัญหาจากการทำงาน พบว่าเป็นเรื่องค่าตอบแทน งานขาดความต่อเนื่อง 2) ปัญหาจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน พบปัญหาเรื่องอิริยาบถในการทำงาน (ไม่ค่อยได้เปลี่ยนลักษณะท่าทางในการทำงานทำให้เกิดการอักเสบและผิดปกติของอวัยวะต่างๆในร่างกาย) มีฝุ่น ละออง ควัน กลิ่น และมีแสงสว่างไม่เพียงพอ 3) ปัญหาจากความไม่ปลอดภัยในการทำงาน พบว่าประสบปัญหาจากสารเคมี เครื่องจักร เครื่องมือ ที่เป็นอันตราย และประสบอันตรายต่อระบบหู ระบบตา แรงงานนอกระบบในจังหวัดปัตตานี (สำนักงานสถิติจังหวัดปัตตานี ปี 2566) พบว่า ผู้มีงานทำทั้งหมด 337,331 คน เป็นแรงงานนอกระบบร้อยละ 43 ประกอบอาชีพด้านการเกษตรและประมง อาชีพพนักงานบริการ อาชีพด้านความสามารถทางฝีมือ เป็นต้น แรงงานนอกระบบในจังหวัดปัตตานีส่วนใหญ่ สำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา โดยรวมอยู่ในกลุ่มจบการศึกษาระดับต่ำถึงปานกลาง
จากข้อมูลข้างต้นพบว่ากลุ่มแรงงานนอกระบบประสบปัญหาหลักคือเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ไม่ปลอดภัย และขาดความรู้ ความเข้าใจด้านชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ทางกลุ่มงานอชีวเวชกรรม โรงพยาบาลปัตตานี เล็งเห็นปัญหาและให้ความสำคัญในการเข้าถึงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน จึงจัดอบรมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภันในการทำงาน และการตรวจวัด สำรวจและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในกลุ่มแรงงานนอกระบบ โดยเลือกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3 ตำบล (ตำบลอาเนาะรู,ตำบลสะบารังและตำบลจะบังติกอ) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เนื่องจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ยังขาดการเข้าถึงความรู้ ความเข้าใจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และด้วยลักษณะงาน มีท่าทางการทำงานซ้ำๆไม่ค่อยได้เปลี่ยนลักษณะท่าทาง และมีการใช้เครื่องจักร เครื่องมือ ที่เป็นอันตราย ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทำงานมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ปราศจากโรคและอุบัติเหตุจากการทำงาน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2.เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน 1.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน 2.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความเหมาะสม และปลอดภัย |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.จัดกิจกรรมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านอาชีวอนมัยและความปลอดภัยในการทำงานให้กับกลุ่มกลุ่มวิสาหกิจชุมชนใน โดยนักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลปัตตานี รายละเอียดเนื้อหา มีดังนี้ นิยามของคำว่าปลอดภัยในการทำงาน,สิ่งคุกคามทางสุขภาพ,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน,การค้นหาและประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน,หลักการสำคัญของการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน 2.สนับสนุนการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงานให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2.1 ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานตามความเสี่ยง เช่น แสง เสียง ความร้อน โดยใช้เครื่องมือสุขศาสตร์อุตสาหกรรม 2.2 สำรวจและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยใช้เกณฑ์การประเมินอ้างอิงตามคู่มือรายการตรวจประเมิน (Audit Check list) สำหรับวิสาหกิจชุมชน ภายใต้เกณฑ์การพัฒนาสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข (หมวด3 ความปลอดภัย) 2.3 สรุปผลการตรวจวัด สำรวจและประเมินด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมแนะนำแนวทางการแก้ไข ปรับเปลี่ยนด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2.4 ประชุมคณะกรรมการและประเมินการปรับเปลี่ยนด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานในกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2.5 มอบรางวัลการปรับเปลี่ยนด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
1.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน 2.กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน ผ่านเกณฑ์ฯ ร้อยละ 60 ทุกวิสาหกิจชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2566 13:15 น.