กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรโลชั่นบำรุงผิวจากสารสกัดข้าวหอมกระดังงา ประจำปี 2566
รหัสโครงการ L2485
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มีนาคม 2566 - 15 มกราคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 มกราคม 2567
งบประมาณ 10,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมจิต กล้าหาญ
พี่เลี้ยงโครงการ นายชาติชาย แก้วเมฆ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตากใบเป็นชื่ออําเภอหนึ่งที่มีถือเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สําคัญ และมีการปลูกข้าวพื้นเมืองเป็นอาชีพหลักมากที่สุดในจังหวัดนราธิวาส กลายเป็นวิถีชีวิตของเกษตรกรอําเภอตากใบ โดยพันธุข้าวพื้นเมืองที่นิยมปลูกกันมากในอําเภอตากใบ คือข้าวหอมกระดังงา (PTNC09002-59) ซึ่งเป็นข้าวพื้นเมืองดั้งเดิมของชาวตากใบ โดยจุดเด่นของข้าวพันธุ์นี้มีลักษณะสีแดง นุ่มนอกจากจะมีกลิ่นหอมคลายดอกกระดังงา มีคุณสมบัติทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีปลูกได้ทั้งสภาพนาที่เป็นที่ดอนและที่ลุ่ม นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยา โดยช่วยรักษาอาการเหน็บชาได้ดี อีกทั้งยังพบว่าข้าวหอมกระดังงามีสารกลุ่มวิตามินอีมาก (ศูนย์ข้อมูลข้าวตลาดเฉพาะ, 2565) ดังนั้นวิตามินอีเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลรักษาผิว มีการศึกษาวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า วิตามินอี ช่วยลด psoriasis erythema และช่วยลดการเสี่ยงการเกิดมะเร็งผิวหนัง ช่วยรักษาแผลเป็น และช่วยลดริ้วรอยบนผิวทั้งนี้ จากการวิจัยมากมาย ยืนยันว่า Vitamin E Acetate สามารถเร่งการสร้าง enzyme ในผิว ปกป้องอนุมูลอิสระ และเพิ่มความชุ่มชื้นในชั้นผิวได้ จึงเหมาะสำหรับเป็นส่วนผสมในครีมหรือโลชั่น เพื่อช่วยทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระให้แก่ผิว (มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557)
สาเหตุที่ผิวหนังผู้สูงอายุถูกทำลายได้ง่าย เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากภาวะสูงอายุ โดยเซลล์ ผิวหนังมีอัตราการสร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทนเซลล์เดิมลดลงถึง 50 เปอร์เซนต์ และมีการเจริญเติบโตช้า รวมถึงเส้นเลือดฝอยมีการสร้างลดลงไปด้วย (Naylor & Sherratt, 2011) คอลลาเจนและอีลาสตินถูกสร้างน้อยลง ทำให้ผิวหนังบาง มีความ ยืดหยุ่นน้อย ซึ่งง่ายต่อการฉีกขาด หรือหลุดลอก ต่อมไขมันลดทั้งจำนวนและประสิทธิภาพการทำงาน มีผลให้ทำให้ผิวแห้งและมีอาการคันได้ง่าย อีกทั้งมีปริมาณของไขมันใต้ ผิวหนังลดลง ทำให้ขาดไขมันป้องกันแรงกระแทก ความชื้นของผิวหนังชั้นนอกลดลง ทำให้ผิวชั้นนี้เปราะ การรับรู้ ความเจ็บปวดของปลายประสาทที่ผิวหนังก็ลดลง (Zouboulis & Makrantonaki, 2011) ไม่สามารถตอบสนอง ต่ออันตรายที่มีต่อผิวหนังได้ทันท่วงที ผิวหนังผู้สูงอายุจึงถูกทำลายได้ง่าย ปัญหาผิวหนังของผู้สูงอายุ ในผิวของผู้สูงอายุยิ่งถ้าได้รับแสงแดดมากขึ้น เส้นใยอีลาสติกเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า คือ ผิวซีด เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น ผิวหนังหยาบ หลอดเลือดเปราะเกิดรอยฟก ช้ำง่าย มีจุดกระดำกระด่าง มีเนื้องอกเกิดขึ้นตามคอและใบหน้า ซึ่งเรียกว่า “กระเนื้อ” พวกนี้ลักษณะเป็นเนื้องอกชนิด ธรรมดา บางรายอาจเกิดมะเร็งผิวหนัง (ศ.ดร.นพ.ธัมม์ทิวัตถ์ นรารัตน์วันชัย, 2557) จากปัญหาดังกล่าว งานแพทย์แผนไทยในหน่วยงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน จึงได้นำข้าวหอมกระดังงาตากใบ ที่มีวิตามิน E สูง นำมาพัฒนาเป็นโลชั่นบำรุงผิวจากสารสกัดข้าวหอมกระดังงาตากใบ เพื่อช่วยดูแลรักษาผิวและบรรเทาปัญหาสภาพผิวในผู้สูงอายุในชุมชน และเล็งเห็นการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่มุ่งพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่นำพืชสมุนไพร ท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเพื่อให้สามารถพัฒนา ยกระดับพัฒนาข้าวหอมกระดังงาให้มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่มีอัตลักษณ์ (Identity) จึงได้เกิดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรโลชั่นบำรุงผิวจากสารสกัดข้าวหอมกระดังงา ประจำปี 2566 นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์โลชั่นบำรุงผิวจากสารสกัดข้าวหอมกระดังงา

มีการร่วมกลุ่มจัดทำผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยนำพืชสมุนไพรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเป็นวัตถุดิบในการผลิต และร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร

0.00
2 เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

มีส่วนช่วยในการสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของอสม. และแกนนำสุขภาพ

0.00
3 เพื่อนำผลิตภัณฑ์มาใช้ในคนไข้ที่มีผิวแห้งคันตามผิวหนังและบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น

ผลิตภัณฑ์โลชั่นบำรุงผิวจากสารสกัดข้าวหอมกระดังงาได้รับการนำมาใช้กับคนไข้ที่มีผิวแห้ง คันตามผิวหนังและบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นในกลุ่มผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์โลชั่นบำรุงผิวจากสารสกัดข้าวหอมกระดังงา

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อนำผลิตภัณฑ์มาใช้ในคนไข้ที่มีผิวแห้งคันตามผิวหนังและบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

22 ธ.ค. 66 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สมุนไพรโลชั่นบำรุงผิวจากสารสกัดข้าวหอมกระดังงา 40.00 10,720.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผลิตภัณฑ์โลชั่นบำรุงผิวจากสารสกัดข้าวหอมกระดังงาได้รับการนำมาใช้กับคนไข้ที่มีผิวแห้ง คันตามผิวหนังและบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น     2. มีส่วนช่วยในการสร้างรายได้และเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2566 10:02 น.