กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ L7251-01-00
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ
วันที่อนุมัติ 18 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 88,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเสาวนีย์ คงดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.631,100.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยถือเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Completed Aged Society) ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติเป็นที่เรียบร้อย ในปี พ.ศ. 2564 และคาดว่าประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ในปีพ.ศ. 2578 ซึ่งประชากรที่สูงอายุจะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ จากข้อมูลการสำรวจพบว่าร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุ ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาสำคัญที่ผู้สูงอายุไทย ประสบคือ ปัญหาทางเศรษฐกิจและสุขภาพ เกือบครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุ มีรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ และ 2 ใน 3 มีสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางถึงไม่ดีมาก โรคที่พบบ่อยของกลุ่มผู้สูงอายุ คือความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ปวดหลัง ปวดเอว ไขข้ออักเสบ โรคกระเพาะ นอกจากนี้ยังพบว่า ภาวการณ์เจ็บป่วยของผู้สูงอายุ เป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้ผู้สูงอายุ ไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพได้เจ็บป่วยและมีปัญหาสุขภาพ มีเพียง ร้อยละ 5 ที่สุขภาพแข็งแรง รัฐบาล โดยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายสำคัญ ในการสร้างเสริมสุขภาวะสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง เป็นนโยบาย สำคัญเร่งด่วน มุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียงโดยมีเป้าหมายสำคัญคือทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงและทำอย่างไรผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม โดยทีมสหวิชาชีพในระดับปฐมภูมิซึ่งจัดบริการดูแลด้านสุขภาพถึงที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามปัญหาสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่นส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ่อตรุ ปีงบประมาณ 2566 ผู้สูงอายุ จำนวน 1,490 คน ( ข้อมูล ณ วันที่ 22 มีนาคม 2566 ) เป็นผู้สูงอายุ ติดสังคม 1,341 คน โดยสถานการณ์ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ่อตรุ มีคนไข้ติดบ้าน จำนวน 106 คน และติดเตียง 38 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 9.6 ของประชากรผู้สูงอายุ ทีมีปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ และในพื้นที่ตำบลบ่อตรุ มีจำนวนผู้ดูแลผู้สูงอายุ ( Caregiver) 7 คน ซึ่งไม่สอดคล้องกับการทำงานที่กำหนดให้ Caregiver 1 คน ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ( ADL < 11 ) 1 – 4 คน
เมื่อสังคมไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Completed Aged Society) การเตรียมความพร้อมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ โดยมีการอบรมผ่านหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ ( Caregiver) 70 ชั่วโมง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุปฏิบัติตนในการดูแล ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยระยะสุดท้าย เพื่อให้ได้รับการ ดูแลที่ดีอยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรีเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมด้วยระบบการบริการการดูแล เยี่ยมบ้านของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

2 เพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในพื้นที่ตำบลบ่อตรุ

 

3 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร และภาคีเครือข่ายที่ทำงานด้านการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) มีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ ในชุมชนให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2566 10:51 น.