กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการไกลชรา กายาแข็งแรงด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด
วันที่อนุมัติ 18 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 30 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 34,790.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟาติน เด่นตุลาการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) สถานการณ์ประเทศไทยในปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากรายงานสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2565 ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีถึงประมาณ 12.1 ล้านคน คิดเป็นเกือบร้อยละ 18.3 ของประชากรทั้งประเทศ ที่มีอยู่ 66.18 ล้านคน องค์การสหประชาชาติได้ให้นิยามว่าประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ในสัดส่วนเกิน 10% ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ดังนั้นประเทศไทยจึงนับได้ว่าได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว (สถิติผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2560)
เนื่องจากผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ผู้สูงอายุต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้นำมาเป็นผู้ตาม ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าลดลง (ดนยา สุเวทเวทิน,2561)ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและความพิการ ดังนั้นการดูแลเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญของครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม ประเด็นที่น่าห่วงใย คือเรื่องของการที่ผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านเพียงลำพังทำให้อาจมีภาวะเครียดรู้สึกหดหู่ อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังโชคดีที่ครอบครัวและเครือญาติยังคงเป็นสถาบันหลักในการดูแลผู้สูงอายุ แต่ภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุได้ รวมทั้งความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุและการดูแลที่เหมาะสมให้ผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาวขึ้นมีสุขภาพแข็งแรงไม่เป็นภาระของบุตรหลานช่วยเหลือตนเองได้ทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ (ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์, 2557) ข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานเกิดการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ ทำให้มีการงอกของกระดูก เวลาเดินจะเจ็บข้อ มีการผิดรูปของข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความทรมานแก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง คุณภาพชีวิตลดลง และทำให้โรคอื่น ๆ กำเริบ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากออกกำลังกายไม่ได้ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า บวม เข่าฝืดยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติ(ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย : แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคข้อเข่าเสื่อม,2553) ในปัจจุบันพบว่ามีการใช้ยาในการรักษาภาวะข้อเสื่อมนี้เป็นจำนวนมากรองจากยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) โดยเฉพาะยาแก้อักเสบในกลุ่ม NSAIDs (Non-Steroid Anti-inflammatory Drugs) ซึ่งส่วนมากเป็นการรักษาอาการปวดที่ปลายเหตุเสียมากกว่า และมักจะมีผลเสียในการก่อให้เกิดปัญหาเรื่องแผลในกระเพาะอาหารตามมา อุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมพบประมาณ ๑ ใน ๓ หรือคิดเป็นร้อยละ ๓๔.๕-๔๕.๖ ของประชากรทั้งประเทศ และอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญในร่างกายคือ “เท้า” ซึ่งเป็นแหล่งรวมของจุดประสาทต่าง ๆ การที่จะมีสุขภาพที่ดีได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสุขภาพเท้าที่ดีเช่นกัน โดยการดูแลเท้าทั้ง 2 ข้างด้วยการแช่เท้าในน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิพอเหมาะและใส่สมุนไพรเข้าไปผสมด้วย (พิมพ์วิภา แพรกหา,2557) ซึ่งสามารถช่วยในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดมาบริเวณเท้าได้มากขึ้น ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ลดอาการบวมของเท้าในผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงเป็นต้น อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการนอนหลับให้ง่ายขึ้น และสามารถลดอาการเครียดในผู้สูงอายุได้
ดังนั้นทางคลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูดได้เห็นความสำคัญของการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยตามหลักของธรรมมานามัยขึ้น คือกายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย (อวย เกตุสิงห์,2531)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ด้านหลักธรรมานามัยไปใช้และปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี

ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ด้านหลักธรรมานามัยไปใช้และปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

0.00 1.00
2 ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถผลิตสมุนไพรลูกประคบไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถผลิตสมุนไพรลูกประคบไปใช้ในชีวิตประจำวันร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

0.00 1.00
3 ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีคุณภาพชีวิตและเห็นคุณค่าตนเองมากขึ้น

ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีคุณภาพชีวิตและเห็นคุณค่าตนเอง ร้อยละ ๙๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

0.00 1.00
4 ผู้สูงอายุได้รับการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ผู้สูงอายุได้รับการรักษาข้อเข่าเสื่อมและอาการปวดเท้าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ร้อยละ ๙๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

0.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ด้านหลักธรรมานามัยไปใช้และปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถผลิตสมุนไพรลูกประคบไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีคุณภาพชีวิตและเห็นคุณค่าตนเองมากขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : ผู้สูงอายุได้รับการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

13 มิ.ย. 66 กิจกรรมย่อยส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย สาธิตและปฏิบัติการทำสมุนไพรลูกประคบ 33,860.00 -
13 มิ.ย. 66 กิจกรรมพอกเข่าสมุนไพรบริเวณข้อเข่าเสื่อมและแช่เท้าด้วยสมุนไพรในกลุ่มผู้สูงอายุ 930.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ไปใช้และปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน 2.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถผลิตสมุนไพรลูกประคบไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีคุณภาพชีวิตและเห็นคุณค่าตนเองมากขึ้น 4.ผู้สูงอายุได้รับการรักษาข้อเข่าเสื่อมและอาการปวดเท้าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2566 00:00 น.