กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 66-L5267-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประะธานอสม หมู่5
วันที่อนุมัติ 13 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 11,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหิรัญญา ศิริพงษ์
พี่เลี้ยงโครงการ นายรุ่งโรจน์ ศักดิ์มรกต
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.241,100.469place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 มิ.ย. 2566 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (11,940.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคเรื้อรังในปัจจุบัน เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งรวมทั้งปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางโรคเป็นสาเหตุ การตายอันดับต้นและมีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน เช่น การสูบบุรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วนและไม่เหมาะสมทางโภชนาการ ขาดการออกกำลังกายและมีความเครียดจาก ปัญหาครอบครัวและสังคม สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยนั้น กลุ่มโรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศ จำนวนการเสียชีวิตของโรคเรื้อรังโดยรวม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ สถานการณ์ระดับโลก จากการรายงานข้อมูล ของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๖๑ พบอัตราการเสียชีวิต อย่างหยาบอันมีสาเหตุมาจาก โรคไม่ติดต่อที่สำคัญ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประชากรไทย โดยในปีพ.ศ. ๒๕๖๑ โรคไม่ติดต่อ ที่เป็นสาเหตุการตาย ๓ อันดับแรกได้แก่โรคมะเร็งรวมทุกประเภท รองลงมาคือ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตเท่ากับ ๑๒๓.๓ ๔๗.๑ และ ๓๑.๘ ต่อประชากรแสนคน ภาวะความดัน โลหิตสูง คิดเป็น ๑๒.๒๐ ต่อแสนประชากร และโรคทางเดินหายใจ อุดกั้นเรื้อรัง คิดเป็น ๑๑.๔0 ต่อแสนประชากร (สำนัก โรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, ๒๕๖๐) จากสถานการณ์ และความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จึงก่อให้เกิด ความสูญเสียด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นวัยทำงาน และ ยังเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมองอสม.กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสว่างอารมณ์ พบว่า ในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ คัดกรองโรคเบาหวานได้ร้อยละ ๙๒.๒. พบเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ ๑0.๘๗ พบกลุ่มสงสัยป่วยร้อยละ๒.๐๘ และคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ ๙0.0๘ พบเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ ๙.๗๕ พบกลุ่มสงสัยป่วยร้อยละ ๗.๒๔ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเกิดจากการรณรงค์โดยใช้กลวิธีที่หลากหลายติดต่อกันเป็นเวลาหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มเสี่ยงที่เข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังไม่ครอบคลุม และมีความยากลำบากในการนำกลุ่มเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งอาจเกิดจากขาดความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักต่อความเสี่ยงที่จะกลายเป็นกลุ่มป่วยในอนาคต ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ ๔ ตำบลป่าขาด จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงหมู่ที่ ๔ ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกลุ่มเสี่ยง รู้วิธีการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น

เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง รู้วิธีการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น

เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 2.จัดประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง 3.จัดทำเอกสารความรู้ วัสดุ และอุปกรณ์ 4.ประสานงานกับวิทยากร 5.จัดอบรมให้ความรู้ 6.ประเมินผล 7.สรุปและส่งผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายในชุมชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงด้วยโรคเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน ความดัน
2.ชุมชนสามารถป้องกันตนเอง และลดความเสี่ยงจากโรคเรื้อรังต่างๆ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2566 09:06 น.