กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียน ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L4139-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัคสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,330.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพนิดา พัดคง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมี ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ลอดจนมีเป้าหมายให้ผู้เรียน เป็นคนเก่ง และมีความสุข มุ่งเน้นให้ค้นพบความสามารถและความถนัด มาตรา 6 ของพรบ.การศึกษาแห่งชาติ ได้เน้นให้การจัดการศึกษาต้อง เป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและ วัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สุขภาพที่ดีเป็นพื้นฐานของคุณภาพชีวิตใน และเป็น โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ป็นแนวทางใหมในการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องแก่เยาวชนรุ่นใหม่ ศูนย์กลางในการสร้างสุขภาพที่ดีแก่เยาวชนในชุมชน นักเรียนทุกคนจะต้องทราบนโยบายที่เกี่ยวกับการส่งเสริม สุขภาพของโรงเรียน การพัฒนาสุขภาพของโรงเรียนโดยส่งเสริมให้ทุกคนมาให้ความสำคัญ และรู้จักปฏิบัติตนในการ ดูแลสุขภาพตนเอง ตลอดทั้งสามารถควบคุมมูลเหตุ ปัจจัยและสภาพแวดล้อมก็มีผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วม ของภาคีต่าง ๆ ในพื้นที่เป็นทางเลือกที่สำคัญของการใช้สถานศึกษาเป็นจุดเริ่มตันและศูนย์กลางของการสร้างสุขภาพ แก่เด็ก เพื่อช่วยให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียน โรคฟันผุในเด็กสามารถ พบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นและอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมของมารดาใน การเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่ จำเป็นไม่เพียงพอ และส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสีย โดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้วยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่อง ปาก การให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตาม ประเมินผล ทางชมรม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลยุโป ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยุโป ได้ให้ความสำคัญใน การเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1-เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ด้านการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี

นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ร้อยละ 100

2 2-เพื่อให้นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน

1-นักเรียนชั้นอนุบาล 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน ร้อยละ 100 2-นักเรียนชั้นอนุบาล 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าร่วมกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 สำรวจกลุ่มเป้าหมายในการจัดกิจกรรม ชี้แจงโครงการครูอนามัยโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้อง จัดอบรมให้ความรู้เรื่อง การดูแลรักษาสุขภาพในช่องปาก การแปรงฟันที่ถูกวิธี 3. ประกวดการแปรงฟัน 4. ติดตามและประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1-นักเรียน มีความรู้ด้านการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิะี 2-นักเรียน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
3-นักเรียนมีการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2566 10:46 น.