กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพ พัฒนาการ โภชนาการ เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริก
รหัสโครงการ 66-L7889-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 18 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 พฤษภาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,870.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเฉาเร๊าะ เบ็นโส๊ะ ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๖ปีซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมเด็กในวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้านก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด เด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยเฉพาะ๑,๐๐๐-2500วันแรกของชีวิตถือเป็นต้นน้ำของการสร้างรากฐานมีภาวะสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิต โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 6 ปีซึ่งนับว่าเป็นโอกาสทองของการสร้างทุนมนุษย์ที่สำคัญ สมองของเด็กปฐมวัยจะมีการพัฒนาสูงสุดทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำและมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยจึงได้ขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ ๑,๐๐๐ plus สู่ ๒,๕๐๐ ร่วมกับภาคีเครือข่ายโดยส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสำคัญ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ในกลุ่มเด็กปฐมวัย มุ่งเน้นให้การดูแลส่งเสริมให้มีการเจริญเติบโตเต็มตามศักยภาพ สมวัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
จากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ ๐ – ๖ ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคน นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็ก ๐ – ๖ ปี กว่าร้อยละ ๗๐ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลเรื่องอาหารและโภชนาการที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต การดูแลสุขภาพในช่องปาก การกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ และประกอบกับการตรวจสุขภาพโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง แปรผลด้วยการใช้เกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริก ปีการศึกษา ๒๕๖๕ มีเด็กปฐมวัย จำนวน 50 คนมีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักและส่วนสูงน้อยกว่าเกณ์มาตรฐาน) จำนวน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๖๐มีปัญหาสุขภาพในช่องปากจำนวน ๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๐.๐๐ ในการนี้ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริกได้ให้ความสำคัญการขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์ ๑,๐๐๐ plus สู่ ๒,๕๐๐ วัน และเล็งเห็นประโยชน์ของกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ พัฒนาการ โภชนาการ เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริก เพื่อให้เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง และมีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านที่ดีเหมาะสมตามวัยมี สุขภาพในช่องปากที่ดี ตลอดจนครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของเด็กปฐมวัย ให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ผู้ปกครอง ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย

1.ผู้ปกครอง ครู เข้าร่วมกิจกรรมอบรม ร้อยละ ๙๐

2.ผู้ปกครอง ครู ที่เข้าร่วมกิจกรรมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย ร้อยละ ๙๐

0.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลสุขภาพครอบคลุมครบทุกด้าน

1.เด็กปฐมวัยได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ประเมินภาวะโภชนาการ พัฒนาการ สุขภาพช่องปาก ร้อยละ 100

2.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการเฝ้าระวังด้านสุขภาพได้รับการแก้ไขและมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

0.00
3 เพื่อส่งเสริมกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ในเด็กปฐมวัย

1.เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลโดยผ่านกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟันทั้งที่บ้านและศูนย์พัฒนาการเด็กเล็ก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 37,870.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมให้ความรู้กับครูและผู้ปกครอง 0 4,370.00 -
??/??/???? กิจกรรมกิน 0 5,000.00 -
??/??/???? กิจกรรมกอด 0 0.00 -
??/??/???? กิจกรรมเล่น 0 25,500.00 -
??/??/???? กิจกรรมเล่า 0 0.00 -
??/??/???? กิจกรรมนอน 0 3,000.00 -
??/??/???? กิจกรรมเฝ้าดูฟัน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริก มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีสุขภาพในช่องปากที่ดี และมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านเหมาะสมตามวัย

2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริกเป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพมีเครื่องเล่นที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการนักเรียนอย่างเพียงพอ

3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลปริก ครู ผู้ปกครองนักเรียน มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2566 15:57 น.