กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีในผู้สูงอายุเทศบาลตำบลปริก
รหัสโครงการ 66-L7889-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 18 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 98,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชาญณรงค์ เพ็ชรจูด ประธานคณะกรรมการฝ่ายดำเนินงานศูนย์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลตำบลปริก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เขตพื้นที่เทศบาล ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 370 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่งเนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก ได้เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน อีกทั้งยังเป็นผู้มีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่คนรุ่นหลังจะต้องให้ความสำคัญในการยกย่องให้การดูแลผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพจิต สุขภาพกายที่ดี เป็นการเชิดชูเกียรติให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม อย่างมีความสุข ทั้งนี้ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลตำบลปริก ได้ดำเนินการบริหารจัดการศูนย์ฯ มาตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบัน พบว่า เทศบาลตำบลปริกมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี ข้อมูล ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566 มีผู้สูงอายุ 1,029 คน จากประชากรทั้งหมด 6,404 คน คิดเป็นร้อยละ 16.07 ของประชากรทั้งหมด และมีผู้พิการ 159 คน จากประชากรทั้งหมด 6,404 คนคิดเป็นร้อยละ 2.48 ของประชากรทั้งหมด มีผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 2๓ คน ประกอบกับเมื่อห้วงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ได้มีการจัดเวทีประชาคมเพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุเอง เวทีประชาคมได้เสนอโครงการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์เพื่อการดูแล ป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพของผู้สูงอายุหลากหลายกิจกรรม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (wellness Plan)เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ แก่ผู้สูงอายุและคนทุกกลุ่มวัย เพื่อให้ผู้สูงอายุและบุคคลทุกกลุ่มวัย ได้เข้าถึง ทำความเข้าใจข้อมูลสุขภาพ กลั่นกรอง ประเมิน และตัดสินใจ เพื่อการนำข้อมูลไปใช้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกใช้บริการและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างเหมาะสม โดยได้กำหนดแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว รายบุคคลไว้ 6 ประเด็น ได้แก่ ด้านโภชนาการ ด้านการเคลื่อนไหว ด้านสุขภาพช่องปาก ด้านสมองและการนอนหลับ ด้านความสุข (ภาวะซึมเศร้า) และสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ในการนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลตำบลปริก จึงกำหนดจัดโครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีในผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลปริก ปีงบประมาณ 2566 โดยนำแนวทางของแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว (wellness Plan) มาปรับใช้ และนำร่องในกลุ่มแกนนำผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดผู้สูงอายุตัวอย่าง ที่นำไปสู่การขยายผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมให้แก่ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลปริก ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี ลดภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคต่างๆ และมีสุขภาพกายและจิตที่ดีอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การดูแล คุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ

 

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

1.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพครอบคลุมทั้ง 6 ด้านโครงการ ร้อยละ 100

2.ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม มีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง และมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่มีภาวะซึมเศร้า

3.มีแกนนำผู้สูงอายุในชุมชนทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและผู้สูงอายุสุขภาพดีตัวอย่างในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 98,600.00 0 0.00
??/??/???? พัฒนาศักยภาพแกนนำผู้สูงอายุ ในการดูแลสุขภาพ ตามแผนส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา (wellness Plan) 0 12,600.00 -
??/??/???? ด้านโภชนาการ “กินอย่างรู้ค่า นำพาสุขภาพดี” 0 15,000.00 -
??/??/???? ด้านการเคลื่อนไหว "ขยับกายสบายชีวี" 0 39,500.00 -
??/??/???? ด้านความสุข"สุขภาพจิตที่ดีชีวีมีสุข" 0 31,000.00 -
??/??/???? สรุปจัดทำรูปเล่มและรายงานผล 0 500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

2.ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2566 16:49 น.