กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชราสลามเพื่อผู้สูงวัย ขับเคลื่อนงานแผนไทยสู่ชุมชน ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L8423-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านเจ๊ะเก
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 31 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 25,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮัสนาน หะยีเจ๊ะเล๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การแพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์ทางการแพทย์แขนงหนึ่งที่เป็นลักษณะแนวสุขภาพแบบองค์รวม โดยองค์ความรู้ที่ใช้จะเป็นองค์ความรู้ที่สั่งสมกันมาแต่ในอดีตบวกกับการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในปัจจุบัน หรือที่เราได้ยินว่า การแพทย์แผนไทยประยุกต์ เพื่อมาดูแลสุขภาพ โดยส่วนใหญ่แล้วศาสตร์การแพทย์แผนไทย เราจะมาใช้ในแง่สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูเพื่อช่วยให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ มีความปลอดภัยและเอื้ออาทรกัน จึงควรส่งเสริมให้มีการปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ ส่วนประกอบของสารอาหารและสรรพคุณทางยาในพืช ผัก และผลไม้พื้นบ้านต่างๆ เราสามารถรู้ได้จากการศึกษาวิจัยทางเภสัชโภชนาว่ามีสรรพคุณอย่างไร และเมื่อนำไปใช้แล้วก็ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ด้วยสรรพคุณของพืชผักพื้นบ้านหลายชนิดจะช่วยบำรุงและฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ทำให้ในชุมชมมีความเอื้ออาทรต่อกัน เกิดการสร้างสรรค์ มีความมั่นคงแข็งแรงขึ้น ในชุมชนจึงควรนำความเป็นวิทยาศาสตร์ของพืชผักพื้นบ้านมาส่งเสริมสุขภาพโดยรวมของชุมชนด้วย สมุนไพรกับขอบเขตของวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมสุขภาพชุมชน เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพทางกายและจิตใจของคนในชุมชน จึงควรมีการส่งเสริมการปลูกพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางยาขึ้น เช่น ในบ้านก็มีการปลูกพืชผักสวนครัวพื้นบ้าน หรือตามสถานที่ต่างๆ ในชุมชนก็ปลูกพืช ผัก ผลไม้ที่ใช้ประกอบอาหารได้ พืชที่รักษาสภาพแวดล้อมหรือพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับชุมชน เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการและทางสรรพคุณทางยาแก่สุขภาพร่างกายและจิตใจให้มากที่สุด ในชุมชนจึงควรส่งเสริมให้มีการใช้พืช ผัก และผลไม้ต่างๆ เพื่อประกอบอาหารอย่างถูกวิธี
จากยุทธศาสตร์การดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก ปี 2566 ซึ่งกำหนดงานผู้สูงอายุเป็นเข็มมุ่งสำคัญของการดำเนินงาน ภายใต้นวัตกรรมการดำเนินงานที่มีชื่อว่า  “ชราสลาม” ซึ่งเป็นแนวทางในการดำเนินงานในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ รวมไปถึงการดูแลในเรื่องของคุณภาพชีวิตทุกมิติ โดยเน้นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ มีความเป็นวิถีมุสลิม และมุ่งเน้นการดำเนินงานที่เน้นการมีส่วนร่วม การมีเครือข่ายการดำเนินงานที่เข้มแข็ง ทั้งนี้ในกระบวนการหนึ่งที่สำคัญของการขับเคลื่อนชราสลาม คือการมีทางเลือกในการดูแลสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาในใช้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทย ส่งเสริมชุมชนให้มีการภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกด้วย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก ตำบลบาโงสะโต อ.ระแงะ จ.นราธิวาส จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะจัดให้มีโครงการ โครงการชราสลามเพื่อผู้สูงวัย ขับเคลื่อนงานแผนไทยสู่ชุมชน ประจำปี 2566 เพื่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ในการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทย

เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ในการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 80

2 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทย

เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 25,850.00 0 0.00
1 มี.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แพทย์แผนไทยเชิงรุกแก่ประชาชนในหมู่บ้าน 40 17,600.00 -
1 มี.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 จัดกิจกรรมอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มแกนนำสุขภาพ 50 5,500.00 -
1 มี.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 .ค่าจัดทำป้าย ไวนิลโครงการ 0 750.00 -
1 มี.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 จัดทำสื่อรณรงค์ 0 2,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองโดยใช้ศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทย 2.หมู่บ้านมีการตื่นตัวในการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้ศาสตร์ทางการแพทย์แผนไทยและ
การแพทย์ทางเลือก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2566 09:46 น.