กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ หนูน้อยสุขภาพดีตำบลบาโงสะโต
รหัสโครงการ 66-L8423-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บาโงสะโต
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 30,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรจีฮาน มะเจ๊ะเงาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ การส่งเสริมสุขภาพเป็นประเด็นหลักในการพัฒนาเด็กเล็ก การรับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กไทยอายุ 0-5 ปีทุกคนที่ต้องได้รับวัคซีนให้ครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ด้วยวัคซีนแก่เด็กนั้นเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรง ปลอดจากโรค ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาด้านความคิดการเรียนรู้ของเด็ก ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการ โดยสิ่งสำคัญคือการจัดบริการด้วยความสะดวก ปลอดภัย และต้องให้ครอบคลุมประชากรเป้าหมายในระดับสูงที่สุด เพื่อเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการเกิดอัตราป่วย อัตราตาย และการระบาดในพื้นที่ด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน นอกจากนี้สถานการณ์ภาวะสุขภาพเด็ก 0-5 ปียังไม่ได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย ภาวะโภชนาการของเด็ก มีเด็กผอมและเตี้ย จำนวนไม่น้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารเรื้อรัง การได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสมและเพียงพอ ผู้ปกครองไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตร และด้านพัฒนาการพบว่า มีพัฒนาการค่อนข้างล่าช้า จากผลการสำรวจ IQ เด็กชั้นประถมศึกษาพบว่ามี IQ เฉลี่ยแล้วต่ำกว่าเกณฑ์ อีกทั้งยังพบปัญหาฟันผุในเด็ก เนื่องจากมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่เหมาะสม         จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงสะโต ในช่วงตุลาคม 256๔ – กันยายน 256๕ มีผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กอายุครบ 0-5 ปี ร้อยละ ๖๓.๘๙ ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 90.00 พบว่าผู้ปกครองพาเด็กมารับบริการฉีดวัคซีนล่าช้า เสี่ยงต่อการรับวัคซีนไม่ตรงตามเกณฑ์อายุ มีเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์พัฒนาการไม่สมวัยและมีปัญหาฟันผุ โดยพบอัตราเด็ก 0-5 ปี มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนคิดเป็นร้อยละ ๖๕.๙๙ ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 70 และอัตราการตรวจพัฒนาการเด็ก 9,18,30,42,๖๐ เดือน พบเด็กมีพัฒนาการสงสัยล่าช้าร้อย ๓๓.๓๓ จึงได้มีการติดตามโดยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างต่อเนื่อง เพื่อการให้บริการมีความครอบคลุมครบถ้วนมากที่สุด จึงต้องมีการประชาสัมพันธ์ถึงผลกระทบ ความรุนแรงของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โรคจากภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการล่าช้า และโรคฟันผุอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ภาคีเครือข่ายสุขภาพและผู้ปกครองเด็ก ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงสะโต จึงได้จัดโครงการหนูน้อยสุขภาพดีขึ้น เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพและส่งเสริมให้เด็กอายุ 0 - 72 เดือน มีสุขภาพดี รูปร่างสมส่วนและได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตลอดจนมีพัฒนาการที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนครบชุดในเด็ก 0 – 5 ปี

ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ครบชุดตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

2 เพื่อเพิ่มอัตราของเด็กอายุ 0-5 ปีมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนตามวัย

อัตราของเด็กอายุ 0-5 ปีมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

3 ๓ เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของการคัดกรองพัฒนาการในเด็กอายุ 9,18,30,๔๒ และ ๖๐ เดือน

ความครอบคลุมของการคัดกรองพัฒนาการร้อยละ 95

4 เพื่อให้เด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี ได้รับการตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์วานิช

เด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี ที่ได้รับการตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ ๖๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้สูงอายุได้รับความรู้ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง ๒.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพของตนเอง ๓.ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และสุขภาพทั่วไปเบื้องต้น ๔.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2566 15:45 น.